1.ฮัมพ์ (Nasal Hump)
ฮัมพ์ (Nasal Hump) คือ ส่วนของสันจมูกที่นูนขึ้นมา ทรงจมูกธรรมชาติอาจมีฮัมพ์เล็กน้อย ทำให้แลดูมีเสน่ห์สำหรับผู้ชาย แต่ถ้ามีฮัมพ์มากเกินไป โดยเฉพาะผู้หญิงอาจทำให้ลุคของเราดูไม่อ่อนหวาน ตรงกันข้ามทำให้ลุคดูแข็งเหมือนผู้ชาย (Masculine look)
2.โครงสร้างของฮัมพ์มีกี่แบบ
2.1.เกิดจากโครงสร้างซึ่งเป็นกระดูกแข็งอย่างเดียว (Nasal Bone)
2.2.เกิดจากโครงสร้างซึ่งเป็นกระดูกอ่อน (Upper Lateral Cartilage)
2.3.เกิดจากโครงสร้างซึ่งเป็นทั้งกระดูกแข็งและกระดูกอ่อน (Combined Nasal Bone And Upper Lateral Cartilage)
3.วิธีปรับแก้ไขฮัมพ์
วิธีการปรับขนาดและแก้ไขฮัมพ์ (Hump) มีอยู่ 2 วิธี คือ
3.1.กรณีที่มีฮัมพ์เพียงเล็กน้อย แพทย์จะใช้วิธีขูดออกด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า “Rasping” หรือ “การตะไบฮัมพ์”
3.2.กรณีที่มีฮัมพ์มากหรือขนาดใหญ่ แพทย์จะใช้วิธีผ่าตัด 2 เทคนิค คือ
- ตัดออก (Humpectomy) และปรับโครงสร้างจมูกเพื่อป้องกันสันจมูกเป็นหลังคา (Open Roof Deformity) โดยการตอกฐานจมูกให้แคบลง (Osteotomy)
- ปรับแต่งโครงสร้างจมูกด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Dorsal Preservative Technique เช่น Push Down , Let Down เป็นต้น โดยไม่ต้องตัดเอาฮัมพ์ออก กรณีแบบนี้ถ้าใช้การตะไบฮัมพ์จะไม่สามารถแก้ไขฮัมพ์ได้ แถมยังอาจเกิดผลเสียที่ตามมา คือ มีภาวะเลือดออกมาก , จมูกบวมนานหลังผ่าตัด หรือ เยื่อหุ้มจมูกถูกขุดทำลายจนทำให้เกิดภาวะ “ซิลิโคนลอย” ได้
4.สิ่งที่ต้องระวัง
สิ่งที่ต้องระวัง คือ !! บางครั้งฮัมพ์ที่เห็นอาจไม่ใช่ฮัมพ์จริง หรือ ฮัมพ์เทียม (Pseudo hump) อาจจะเกิดจากกรณีดังต่อไปนี้
4.1.ปลายจมูกงุ้ม
กรณีที่ปลายจมูกงุ้ม ไม่โด่ง หรือยุบลง โดยโครงสร้างปกติของจมูก ส่วนปลายจมูกจะโด่งหรือเตี้ย ขึ้นอยู่กับขนาดและความแข็งแรงของกระดูกอ่อน (Ala / Low Lateral Cartilage) เพราะฉะนั้นถ้ากระดูกอ่อนชิ้นนี้ขนาดเล็ก หรือไม่แข็งแรงหรือถูกทำลาย ปลายจมูกจะยุบลง ทำให้สันจมูกดูนูนมากกว่าปกติ เมื่อเทียบสัดส่วนกับปลายจมูก
การแก้ไขกรณีนี้ แค่เรายกปลายจมูกขึ้นก็จบ โดยไม่ต้องเอาฮัมพ์ออกเลย
4.2.สันจมูกเตี้ยเกินไป
กรณีที่รอยต่อของกระดูกหน้าผากกับสันจมูกเตี้ยเกินไป (Deep Radix) ทำให้ดูเหมือนมีฮัมพ์ได้
การแก้ไขกรณีนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องเอาฮัมพ์ออก เพียงแค่เราเสริมบริเวณสันจมูก (Radix)
4.3.กรณีมีทั้ง 2 อย่างรวมกัน
กรณีมีทั้ง 2 อย่างรวมกัน คือ ทั้งปลายจมูกงุ้มและสันจมูกเตี้ย (Deep Radix) ยิ่งทำให้ดูมีฮัมพ์มาก
การแก้ไขกรณีนี้ เพียงแค่เราเสริมบริเวณสันจมูก (Radix) ร่วมกับยกปลายจมูกขึ้นก็จบ ไม่จำเป็นต้องเอาฮัมพ์ออก
คำถามที่พบบ่อย
ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของฮัมพ์เป็นหลักนะครับ
- ถ้ามีฮัมพ์ในส่วนที่เป็นกระดูกอ่อน แพทย์จะใช้ใบมีด (Blade)
- ถ้ามีฮัมพ์ในส่วนที่เป็นสันของกระดูก แพทย์จะใช้สิ่ว (Osteotomy) ทางการแพทย์ในการตอกฮัมพ์
- ถ้าฮัมพ์ประกอบด้วยทั้งกระดูกอ่อนและกระดูก แพทย์จะใช้อุปกรณ์ทั้ง 2 ร่วมกัน
ถ้าตะไบฮัมพ์เพียงเล็กน้อยในกรณีที่กระดูกจมูกไม่เรียบ จะไม่มีผลเสียนะครับ
แต่ถ้าตะไบฮัมพ์มากเกินไป และวิธีในการตะไบฮัมพ์ไม่เหมาะสมกับขนาดของฮัมพ์ จากเกิดผลเสียตามมาได้ คือ ภาวะเลือดคั่ง (Hematoma) และไม่สามารถลดขนาดของฮัมพ์ได้จริง อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ถ้าฮัมพ์ส่วนที่เป็นกระดูกและขนาดใหญ่ จำเป็นต้องใช้สิ่วในการลดขนาดของฮัมพ์จึงจะได้ผลดี ผลข้างเคียงอีกอย่างหนึ่งที่พบบ่อย คือ มีการเอาฮัมพ์ออกมากเกินไปจนเกินภาวะ “แกนจมูกตัด” ดังภาพครับ
ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการเสริมจมูกและแก้จมูก เพื่อตรวจวิเคราะห์ปัญหาอย่างละเอียดนะครับ แพทย์อาจพิจารณาแก้แบบ Open เพื่อตรวจได้อย่างชัดเจนว่า มีเยื่อหุ้มกระดูก (Periosteum) หลงเหลืออยู่เพียงพอในการยึดซิลิโคนใหม่หรือไม่ ?
ในกรณีที่ไม่สามารถเสริมซิลิโคนอันใหม่ได้ แพทย์อาจพิจารณาตอกฐานแกนจมูก เพื่อแก้ปัญหาแกนจมูกตัด (Open Roof Deformity)
จากนั้นเสริมแกนจมูกด้วยเนื้อเยื่อของตนเอง (Autologous Tissue) เช่น กระดูกซี่โครง (Rib Cartilage) , กระดูกอ่อนใบหู (Ear Cartilage) , เนื้อเยื่อไขมัน (Dermofat) เป็นต้น แบบนี้ก็สามารถแก้ไขเคสที่ถูกตะไบฮัมพ์แท้ออกมากเกินไป แล้วเกิดปัญหาซิลิโคนลอยได้แล้วครับ