fbpx

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

ปัญหาซิลิโคนลอย ( Floating Silicone Implant) คือ ภาวะที่ซิลิโคนจมูกมีการขยับได้ง่าย ขยับซิลิโคนส่วนปลายจมูก   แล้วมีการขยับบริเวณสันจมูกตามไปด้วยมากน้อยแล้วแต่เคส    ในบางเคสอาจเห็นซิลิโคนเป็นสันลอยขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด   จนอาจส่งผลต่อรูปทรงจมูกจนขาดความมั่นใจ   เนื่องจากตัวซิลิโคนเองเป็นของนอกร่างกายที่มีลักษณะไม่ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อจมูก เนื้อจมูกไม่มีการโตเข้าไปยึดกับผิวซิลิโคน ต่างจากการใช้กอร์เท็กซ์ (Gortex) เยื่อเทียม ไขมัน (Dermofat) หรือกระดูกอ่อนซี่โครงในการเสริมจมูก ที่เนื้อเยื่อจมูกสามารถโตเข้าไปยึดในชั้นผิวได้ ทำให้หลังเสริมแน่น ไม่ลอยขยับไปมา

สาเหตุของซิลิโคนลอย

1.การเปิดช่องว่างเพื่อซิลิโคน

อาจเกิดจากการเปิดช่องว่างเพื่อวางซิลิโคนอยู่ในชั้นตื้น ไม่วางใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูก เช่น วางในชั้นกล้ามเนื้อจมูก (SMAS Layer) หรือชั้นไขมันของจมูก (Subcutaneous Layer)

2.เนื้อเยื่ออ่อนสันจมูกของคนไข้ค่อนข้างหลวม

เกิดจากเนื้อเยื่ออ่อนสันจมูกของคนไข้ค่อนข้างหลวม (Loose Nasal Skin Soft Tissue Envelope)    ทำให้เวลาเสริมซิลิโคนที่มีความหนาไม่มาก สามารถขยับได้ง่าย แม้ว่าจะเสริมในชั้นใต้เยื่อหุ้มกระดูกก็ตาม

3.ฮัมพ์จมูกสูงตรงกลาง

เกิดจากฮัมพ์จมูกสูงตรงกลาง แต่บริเวณหัวคิ้วหักลงลึก( High Hump and Deep Radix) ทำให้เวลาเสริมซิลิโคนที่สันจมูก หากเหลาหลบฮัมพ์ตรงกลางไม่ดี ไม่เหมาะสม จะทำให้ซิลิโคนถูกดันตรงกลาง ทำให้ซิลิโคนส่วนหัวตาลอยขยับไปมาได้

ซิลิโคนลอยขยับได้ เกิดจากอะไร ? อันตรายไหม ? ต้องแก้มั้ย ? แก้แล้วหายไหม ?

4.การตะไบฮัมพ์ที่รุนแรง

เกิดจากการตะไบฮัมพ์ที่รุนแรง ขูดเยื่อหุ้มกระดูกเสียหายเป็นบริเวณกว้าง พบบ่อยในเคสแก้จมูกหลายๆรอบ ทำให้ไม่มีตัวช่วยยึดซิลิโคนให้แน่น หลังเสริมจมูกด้วยซิลิโคนแล้วจะเกิดซิลิโคนลอยได้ง่าย

ซิลิโคนลอยขยับได้ เกิดจากอะไร ? อันตรายไหม ? ต้องแก้มั้ย ? แก้แล้วหายไหม ?

5.การติดเชื้อในเนื้อเยื่อจมูก

เกิดจากการติดเชื้อในเนื้อเยื่อจมูก จนเกิดเป็นหนองภายในจมูก รอบๆซิลิโคน ทำให้ซิลิโคนลอยได้ มักมีอาการบวม แดง ร้อน และปวดจมูกร่วมด้วย

ซิลิโคนลอยขยับได้ เกิดจากอะไร ? อันตรายไหม ? ต้องแก้มั้ย ? แก้แล้วหายไหม ?

ภาวะซิลิโคนลอยอันตรายไหม ?

ในเคสที่มีภาวะซิลิโคนลอย ขยับได้ง่ายเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่มีภาวะสันจมูกตึงบาง ปลายจมูกบางใส ซิลิโคนเอียงผิดแนวจมูกอย่างมาก หากไม่มีภาวะดังกล่าวร่วมด้วย อาจไม่จำเป็นต้องแก้ไขได้ ยกเว้นในเคสที่ซิลิโคนลอยค่อนข้างมาก ส่งผลต่อรูปทรงจมูก ควรได้รับการแก้ไข เพื่อเสริมความมั่นใจ และป้องกันการเกิดปัญหาอื่นๆตามมาภายหลังได้

การแก้ไขภาวะซิลิโคนลอย

สำหรับการแก้ไขนั้นขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิด แตกต่างกันไปในแต่ละเคส แต่ในภาพรวมแล้ว หากเป็นเคสที่เกิดภาวะซิลิโคนลอยและได้รับการแก้ไขด้วยเทคนิคซิลิโคน มาแล้วหลายครั้ง ควรเปลี่ยนเทคนิคการผ่าตัดโดยใช้วัสดุอื่นหรือวัสดุเนื้อเยื่อของร่างกายตนเอง เพื่อให้เนื้อเยื่อจมูกสามารถยึดได้ เรามาดูการแก้ไขแต่ละสาเหตุกันนะครับ

1.สาเหตุจากซิลิโคนอยู่ผิดชั้น ไม่ว่างใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูก

การแก้ไขทำได้โดยผ่าตัดเปิดช่องว่างใต้เยื่อหุ้มกระดูก (Subperiosteal Plane) แล้วเสริมซิลิโคนในช่องว่างใหม่นี้ ก็จะช่วยให้ซิลิโคนแน่นขึ้นได้ แต่จะเหมาะสมในเคสที่เสริมมา1-2 ครั้ง และเยื่อหุ้มกระดูกยังไม่ถูกทำลายจากการผ่าตัดครั้งก่อน

2.สาเหตุจากเนื้อเยื่ออ่อนสันจมูกของคนไข้ค่อนข้างหลวม(Loose nasal skin soft tissue envelope)

สำหรับสาเหตุนี้การแก้ไขจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้ซิลิโคน แต่เลือกเสริมด้วยวัสดุที่เนื่อเยื่อในจมูกสามารถยึดติดได้ เช่นวัสดุเนื้อเยื่อในร่างกายตนเอง(Autologous tissue) เช่น เนื้อเยื่อไขมัน หรือกระดูกอ่อนซี่โครง นอกจากนี้ยังสามารถเลือกเสริมด้วยวัสดุสังเคราะห์บางชนิด(Artificial nasal implant) เช่น กอร์เท็ก(Gortex) เป็นต้น

3.สาเหตุจากฮัมพ์จมูกสูงตรงกลาง แต่บริเวณหัวคิ้วหักลงลึก( High hump and deep radix)

การแก้ปัญหาสำหรับสาเหตุนี้ จะแบ่งเป็น 2 แนวทาง

1.เคสที่ฮัพม์ไม่สูงจนเกินไปและเนื้อเยื่ออ่อนสันจมูกมีความหนา หยื่นหยุ่นพอสมควร ยังสามารถแก้ปัญหาโดยใช้การเหลาซิลิโคนเว้าหลบบริเวณฮัมพ์และเพิ่มความหนาของซิลิโคนบริเวณหัวตา ให้เหมาะสมกับความสูงของฮัมพ์ แต่ต้องใช้ประสบการณ์ในการเหลาซิลิโคนค่อนข้างมาก

2.เคสที่ฮัมพ์สูงมาก สันจมูกบริเวณหัวคิ้วต่ำมาก ( High hump and deep radix) เมื่อเทียบกับความสูงของฮัมพ์ เคสลักษณะนี้ความทำการตอกฮัพม์ออกบางงส่วน(Humpectomy) และเสริมสันจมูกบริเวณหัวตา(Radix augmentation) และยกปลายจมูกให้สูงขึ้น(Tip projection)ได้สัดส่วนกับความสูงของฮัมพ์ ซึ่งเรามักแก้ไขโดยผ่าตัดด้วยเทคนิคแก้โครงสร้างจมูก(Nose reconstruction)และเสริมตกแต่งด้วยเนื้อเยื่อตนเอง(Autologous tissue) หรือเสริมจมูกแบบไร้ซิลิโคน (No Silicone) ›

4.เกิดจากการตะไบฮัมพ์ที่รุนแรง ขูดเยื่อหุ้มกระดูกเสียหายเป็นบริเวณกว้าง(Extensive destruction of periosteum)

บางครั้งอาจพบภาวะสันจมูกยุบตัวร่วมด้วย (Saddle nose deformity) การแก้ไขจำเป็นต้องใช้วัสดุจากร่างกายตนเองในการเสริมเป็นหลักเพื่อให้สามารถยึดกับเนื้อเยื่อจมูกได้ นอกจากนี้ยังอาจต้องตอกฐานจมูกให้ให้สันจมูกหุบเข้าหากันและเสริมความแข็งแรงที่สันจมูกแก้ภาวะสันจมูกผิดรูปร่วมด้วย

5. เกิดจากการติดเชื้อในเนื้อเยื่อจมูก จนเกิดเป็นหนองภายในจมูก (Infected silicone implant)

สำหรับสาเหตุนี้จำเป็นต้องถอดซิลิโคนออก ล้างจมูกด้วยยาฆ่าเชื้อ และได้รับยาปฏิยาชีวนะให้ครอบคลุมเชื้อสาเหตุอย่างเร่งด่วนก่อน แล้วจึงพิจารณาเสริมจมูกแบบไม่ใช้ซิลิโคนต่อไป (No Silicone Rhinoplasty)