เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

จมูกสั้น เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ?

เป็นปัญหาที่พบบ่อยโดยเฉพาะชาวเอเชีย (Congenital Short Nose) เนื่องจากมีโครงสร้างกระดูก (Nasal Bone) ที่สั้น (แถมยังกว้างอีกต่างหาก ยิ่งดูสั้นลงไปอีก) กระดูกอ่อนกั้นกลางจมูก (Cartilaginous Septum) ก็สั้นด้วย นอกจากพันธุกรรมและเชื้อชาติแล้วแล้ว จมูกสั้นอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่

  1. อุบัติเหตุบริเวณจมูกมาก่อน (Nasal Trauma)
  2. การผ่าตัดที่ผ่านมา (Ablative Surgery) โดยเฉพาะการตะไบฮัมพ์ (Excessive Humpectomy) ที่ออกเยอะจนเกินไปหรือเคสที่ผ่านการผ่าตัดมาหลายครั้งจนเกิดผังผืดหดรัดให้จมูกดูสั้น (Fibrotic Scar Contracture)
  3. กระดูกอ่อนกั้นกลางจมูก (Septum) ถูกทำลายจาก Drug Abuse เช่น การพ่นซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine Nasal Spray) และการใช้สารโคเคน (Cocaine) เป็นเวลานาน เป็นต้น

ลักษณะจมูกสั้น แบ่งได้ 4 รูปแบบ คือ

1.จมูกสั้นจากโครงสร้างของจมูกสั้นทั้งหมด ทั้งในส่วนกระดูกแข็ง (Nasal Bone) และ/หรือ กระดูกอ่อน (Nasal Cartilage) ของจมูก

จมูกสั้น เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ?

2.จมูกสั้นจากปลายจมูกเชิดมากเกินไป (Upturned / Tip Derotation / Over Rotation)

จมูกสั้น เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ?

3.จมูกสั้นจากสันจมูกด้านบนบริเวณระหว่างคิ้วเตี้ยมาก (Low Radix)

จมูกสั้น เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ?

4.จมูกสั้นจากสาเหตุหลาย ๆ อย่างร่วมกัน (ข้อ 1+2+3 รวมกัน)

จมูกสั้น เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ?

สัดส่วนจมูกที่สมส่วน (Perfect Nose)

ในกรณีที่โครงสร้างของใบหน้าที่สมส่วน (Perfect Facial Proportion) ความยาวของจมูก (Nasal Length) วัดจากจุดต่ำสุดของแกนจมูกด้านบน (Radix) ถึงปลายจมูก จะมีความยาวเป็น 2 เท่าของระยะที่วัดจากบริเวณใต้ฐานรูจมูกถึงรอยต่อของริมฝีปากบนและริมฝีปากล่าง

จมูกสั้น เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ?

การแก้ไขจมูกสั้น

1.ถ้าสาเหตุเกิดจากแกนจมูกจุดต่ำสุดด้านบนเตี้ยมาก (Low Radix)

การเสริมเฉพาะบริเวณดั้งจมูก (Dorsal Augmentation) ด้วยวัสดุทางการแพทย์ เช่น ซิลิโคน , ฟิลเลอร์ เป็นต้น และอวัยวะของร่างกายเราเอง เช่น Dermofat , กระดูกอ่อนหลังหู , กระดูกอ่อนซี่โครง เป็นต้น ก็จะทำให้จมูกดูยาวขึ้น แต่ก็ไม่ควรเสริมให้สูงขึ้นมากเกินไปจนเกือบชนระหว่างคิ้ว โดยเฉพาะผู้หญิง เพราะจะทำให้แลดูหน้าดุ ไม่หวานและที่สำคัญ เวลามองด้านข้าง (Lateral View) จะแลดูเหมือนอวตาร (Avatar Deformity) โดยปกติเราจะเสริมให้สูงในระดับเดียวกันกับตา 2 ชั้นหรือจุดกึ่งกลางของม่านตา (Double Fold & Mibpupil)

จมูกสั้น เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ?

2.กรณีที่เกิดจากโครงสร้างของจมูกสั้นทั้งหมดและ/หรือปลายจมูกเชิดมากเกินไป

2.1. การยืดปลายจมูกโดยการแยกกระดูกอ่อนบริเวณปลายจมุกออกจากกัน (Upper Lateral Cartilage + Lower Lateral Cartilage) เพื่อเพิ่มความยาวปลายจมูกให้มากขึ้นและจับโยกปลายจมูกขึ้นลงและโด่งหรือเตี้ยลงตามแผนการผ่าตัดของแพทย์ เพื่อให้ได้ปลายจมูกที่สมส่วน

จมูกสั้น เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ?

2.2. การเอาเนื้อเยื่อบริเวณปลายจมูกออกบางส่วน แต่จะเอาออกมากหน่อยในกรณีคนที่มีผิวหนาและมัน(Thick Oily Skin) เนื่องจากภาวะดังกล่าวเป็นอุปสรรคของการยืดหรือปรับทรงของปลายจมูก (Nasal Tip)

จมูกสั้น เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ?

2.3. เราจะใช้กระดูกอ่อนที่แข็งแรงในการดามแกนกลางของจมูกให้ยาวขึ้น (Extended Spread Graft ;ESG) และใช้กระดูกอีกชิ้นในการค้ำปลายให้โด่งขึ้น (Columella Strut Graft ;CS) และช่วยยึด (Support) ให้ปลายจมูกมั่นคงขึ้น ทางเลือกของวัสดุที่ใช้ เป็น ESG และ CS ได้แก่

จมูกสั้น เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ?

2.3.1. กระดูกอ่อนกั้นกลางจมูก (Septal Cartilage) เป็นกระดูกอ่อนที่มีความนิยมอันดับ 1 ในการมาเสริมตอ่ให้จมูกยาวและโด่งขึ้น เนื่องจากมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นพอดีในคนเอเชียบางคนมักอาจมีความยาวไม่มากพอ

จมูกสั้น เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ?

2.3.2. กระดูกอ่อนจากซี่โครงจากตัวคนไข้เอง (Autologous Rib ; Costal Cartilage) เนื่องจากมีปริมาณมากพอสำหรับการใช้ประโยชน์หลายอย่างในการเสริมจมูก กระดูกอ่อนซี่โครงที่แพทย์นิยมนำมาใช้ คือ ของซี่โครงคู่ที่ 7
กระดูกมีข้อเสียของการใช้กระดูกอ่อนซี่โครง 2 ประการคือ

จมูกสั้น เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ?

2.3.2.1. ต้องการการผ่าตัด 2 บริเวณ ทั้งบริเวณชายโครงและบริเวณจมูกร่วมกัน

2.3.2.2.มีอัตราการคดงอ (Warping Rate) 3 % หลังการผ่าตัด 1 ปี (แต่ก็แก้ไขได้) บางครั้งของบางคนก็ใช้ไม่ได้ เนื่องจากมีหินปูนไปเกาะ (Calcified Rib) โดยเฉพาะเพศหญิงและคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ทำให้เหลายาก เนื่องจากแข็งเกินไป และส่วนที่เป็นกระดูก….. มักจะสลายเร็วกว่าส่วนที่เป็นกระดูกอ่อน ตลอดจนบางครั้งจำเป็นต้องใช้จริง ๆ แพทย์อาจพิจารณาใช้ซี่โครงอ่อนบริจาคที่ผ่านการทำให้ปลอดเชื้อด้วยการฉายรังสี (IHCC – Irradiated human costal cartilage) ซึ่งมีความปลอดภัย แต่มีราคาที่ค่อนข้างแพงและมีอัตราการสลายมากขึ้นกว่ากระดูกอ่อนซี่โครงปกติ

2.3.3. ในกรณีบางคนไม่สามารถเลือกใช้กระดูกอ่อนซี่โครงได้ แต่ปริมาณกระดูกส่วนอื่น ๆ ไม่เพียงพอ อาจพิจารณาใช้วัสดุสังเคราะห์ทางการแพทย์ที่ปลอดภัยสูง เช่นPolycaprolactone(PCL) , PDS Plate ร่วมกับการใช้กระดูกอ่อนกั้นกลางจมูก (Septum) และกระดูกอ่อนหลังหู (Concha Cartilage)

จมูกสั้น เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ?

วิธีการเปิดแผลผ่าตัดที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขจมูกสั้นที่กล่าวมาทั้งหมด คือ การผ่าตัดแบบเปิด (Open Approach) ส่วนการเปิดแผลแบบ Close และ Semi-Open โดยการเหลาซิลิโคนที่ยาว เพื่อดันปลายจมูกให้ยาวและโด่งขึ้นหรือเพิ่มหยดน้ำ มักจะสร้างปัญหาภายหลังได้ เช่น ปลายจมูกบาง , ปลายจมูกทะลุ , ปลายจมูกอักเสบติดเชื้อ อีกหนึ่งประเด็นที่หลายคนเข้าใจว่าการเสริมซิลิโคนยาว ๆ ร่วมกับรองปลายเนื้อเยื่อเทียมหรือกระดูกอ่อนใบหู สามารถแก้ไขภาวะจมูกสั้นได้ ส่วนตัวของหมอเองคิดว่า เป็นความเข้าใจที่ผิดครับ

อุปสรรคในการแก้จมูก

  1. คนที่มีผิวหนังค่อนข้างหนา (Thick Skin) หรือผิวค่อนข้างมันและเป็นสิวเรื้อรัง (Oily , Acne Prone skin)
    มักจะยืดปลายจมูกได้ค่อนข้างยากและหลังการผ่าตัดมักจะเกิดผังผืดได้ง่าย (Fibrotic Scar) เพราะฉะนั้น การเตรียมตัวและควบคุมสิวให้ดีก่อนการผ่าตัดจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
  2. เคสแก้ที่โครงสร้างจมูกเปลี่ยนไปมาก (Revision Case)
    โดยเฉพาะกระดูกอ่อนบริเวณปลายจมูกที่ถูกหัวและขาซิลิโคนกดทับมาเป็นเวลานาน หรือ มีการฉีดขาดจากการผ่าตัดซ้ำ ๆ หลายครั้ง บางครั้งการตรวจภายนอกไม่ทราบเพราะขาซิลิโคนค้ำเอาไว้ ทำให้มองไม่เห็น บางเคสจำเป็นต้องตรวจภายในโพรงจมูก (Intranasal Examination) และบางเคสต้องตรวจด้วย CT-Scan จึงจะทราบรายละเอียดเพื่อวางแผนการผ่าตัดแก้ไขได้ตรงจุดและเหมาะสมที่สุดครับ