ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่า ในประเทศไทยตอนนี้การเสริมจมูกด้วยกระดูกอ่อนซี่โครงตนเองในปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเทคนิคนี้เข้ามาเติมเต็มการแก้ไขปัญหา หรือจุดอ่อนในจุดที่การเสริมจมูกเทคนิคโอเพ่นที่ใช้กระดูกอ่อนผนังกั้นจมูกและกระดูกอ่อนใบหูทำไม่ได้ เนื่องด้วยปัญหาโครงสร้างจมูกของคนไทย ส่วนใหญ่มักมาจากจมูกที่สั้น และปลายจมูกตก แต่กระดูกอ่อนผนังกั้นจมูก (Septum) มีขนาดเล็ก สั้น และไม่แข็งแรง เมื่อนำมาเสริมจมูกจึงมักนำมาใช้ในการยืดปลายจมูกให้โด่งและยาวขึ้นได้ไม่มากนัก ในบางเคสผลลัพธ์อาจไม่แตกต่างจากการเสริมจมูกด้วยซิลิโคน ทำให้หลายคนที่เลือกเสริมจมูกเทคนิคโอเพ่นแล้ว แต่ต้องมาผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้ เพราะวัสดุที่เลือกใช้ยังไม่สามารถตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาจริงของโครงสร้างจมูกได้
ในเคสที่มีปัญหาแบบนี้ การใช้กระดูกอ่อนซี่โครงมาเป็นวัสดุในการผ่าตัดเสริมจมูกจึงเป็นทางเลือกที่เห็น ผลลัพธ์ได้ดีกว่า แก้ไขปัญหาดังกล่าวได้มากกว่า เนื่องจากมีความยาว ความแข็งแรง และปริมาณที่มากพอ จึงสามารถยืดและยกปลายจมูกได้มากกว่าการใช้กระดูกอ่อนผนังกั้นจมูก (Septum) นอกจากนี้ยังใช้เสริมสันจมูกแทนซิลิโคน หรือ Gortex ที่นิยมให้ในเสริมจมูกเทคนิคโอเพ่นทั่ว ๆ ไปได้อีกด้วย
การเสริมจมูก แบบโอเพ่น
โดยใช้กระดูกซี่โครงจะมีหลักการคล้ายการเสริมจมูกแบบโอเพ่นยืดปลายจมูกด้วยกระดูกอ่อนกั้นกลางจมูก
อย่างไรก็ตามในด้านเทคนิคการผ่าตัดและผลลัพธ์จะแตกต่างกันค่อนข้างมาก
รายละเอียด | เทคนิคโอเพ่นใช้กระดูกอ่อน Septum | เทคนิคโอเพ่นใช้กระดูกอ่อนซี่โครง |
---|---|---|
การเปิดแผลผ่าตัด | การเปิดแผลแบบโอเพ่น หรือ Semi-open | เปิดแผนแบบโอเพ่นเป็นส่วนใหญ่ |
กระดูกอ่อนที่ใช้ | กระดูกอ่อนผนังกั้นจมูก Septum | กระดูกอ่อนซี่โครง |
ความยาวของกระดูกอ่อน | ยาวไม่มาก ประมาณ 1.5-2 ซม. ขึ้นอยู่กับความยาวของจมูกเดิมของคนไข้ | มีความยาวเพียงพอ สำหรับการเสริมปลายและสันจมูก ประมาณ 8-9 ซม. |
ความแข็งแรงของกระดูก | ปานกลาง | แข็งแรงมาก |
ความเป็นธรรมชาติ | ขึ้นอยู่กับเทคนิคและวัสดุที่ใช้เสริมจมูกร่วมกับผนังกั้นจมูก | ขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ใช้ |
การเสริมสันจมูก | ใช้ซิลิโคนรูปเรือ หรือ Gorte-Tex เสริมสันจมูกในรายที่สันจมูกโด่งอยู่แล้ว อาจใช้เนื้อเยื่อไขมันเติมสันจมูกได้ | สามารถเสริมสันจมูกด้วยกระดูกอ่อนซี่โครง จมูกไร้ของปลอม 100% |
แก้จมูกสั้น | แก้จมูกสั้นได้ไม่ค่อยดี เนื่องจากกระดูก Septum เดิมไม่ยาวมาก บางครั้งต้องใช้วัสดุเสริม เช่น TnR-Mesh หรือ Medpore ในการเสริมความแข็งแรง | แก้จมูกสั้นได้ดี เนื่องจากมีกระดูกอ่อนที่ยาวมากพอ และแข็งแรง |
แก้จมูกหดรั้ง เห็นรูจมูกชัด | แก้จมูกหดรั้งไม่ค่อยเห็นผล เนื่องจากกระดูกอ่อนมีความแข็งแรงและปริมาณไม่มากพอ | ปัจจุบัน ถือเป็นกระดูกอ่อนที่แข็งแรงมากพอ และเป็นเทคนิคมาตรฐานในการแก้ไขปัญหาจมูกหดรั้ง และรูจมูกโชว์ |
แก้จมูกผิดรูป | สามารถทำได้ ถ้าผิดรูปไม่มาก | สามารถแก้ปัญหาจมูกผิดรูปได้ดี |
แก้จมูกฉีดสารเหลว | ไม่แนะนำ เนื่องจากปริมาณกระดูกอ่อนไม่พอ โดยเฉพาะบริเวณสันจมูก เคสที่แก้ปัญหาสารเหลาว ควรใช้เนื้อเยื่อของร่างกายในการเสริมจมูก | ถือเป็นวัสดุการเสริมจมูกที่เป็นมาตรฐานระดับสากล ในการเสริมจมูกเคสที่มีปัญหาฉีดสารเหลวมา |
แก้จมูกติดเชื้อ | สามารถใช้เสริมเพื่อคงความแข็งแรงหลังจมูกติดเชื้อได้ แต่อาจเปลี่ยนแปลงรูปทรงได้ไม่มาก | กระดูกอ่อนซี่โครง มีความแข็งแรง คงทนต่อการติดเชื้อได้ |
แก้ปัญหาการหายใจ | แก้ปัญหาเรื่องการหายใจได้ | สามารถแก้ปัญหาการหายใจได้ |
การพักฟื้น | ระยะพักฟื้นสั้นกว่า | พักฟื้นนานกว่า |
ความยากของการผ่าตัด | ความซับซ้อนในการผ่าตัดน้อยกว่า | ความซับซ้อนในการผ่าตัดมากกว่า |
เทคนิคการระงับปวด | สามารถใช้ได้ทั้งการดมยาสลบ และยาชาเฉพาะที่ | ดมยาสลบ / ยาชาเฉพาะที่ใช้ในกรณีใช้กระดูกอ่อนซี่โครงบริจาค |
ค่าใช้จ่าย | ค่าใช้จ่ายถูกกว่า 2-3 เท่า | ค่าใช้จ่ายสูงกว่า |
เมื่อไร เราควรเสริมจมูก แบบ Open Nose Reconstruction
เจาะลึกเทคนิคศัลยกรรมจมูกโด่งสวย มีวิธีไหนบ้าง ?
การเสริมจมูกด้วยกระดูกอ่อนซี่โครง เหมาะสมกับใครบ้าง ?
สำหรับเคสที่ปลายจมูกใหญ่ (Bulbous Tip or Big round tip) เนื้อปลายจมูกหนา อันนี้ก็เป็นเคสที่พบบ่อยมากในคนไทย ซึ่งขนาดปลายจมูกที่ดูใหญ่ในคนไทยนั้น มักมีสาเหตุมาจากชั้นไขมันบริเวณปลายจมูกที่หนา แตกต่างจากคนไข้ในโซนยุโรปที่สาเหตุส่วนใหญ่ของจมูกนั้นมาจากขนาดกระดูกอ่อนปีกนกปลายจมูกที่ใหญ่และอ้า แต่ชั้นผิวหนังนั้นบางกว่าคนไทย ทำให้การแก้ไขปัญหาจมูกใหญ่ ทำได้โดยการผ่าตัดลดขนาดและลดขนาดกระดูกอ่อนปีกนกปลายจมูกก็เพียงพอแล้ว ที่จะลดขนาดปลายจมูกให้ดูเล็กลง แต่ในคนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้การผ่าตัดแบบที่กล่าวไปได้ หมอจำเป็นต้องใช้การยกปลายจมูก เสริมความแข็งแรงกระดูกอ่อนปีกนก ร่วมกับการ ผ่าตัดนำชั้นไขมันที่หนาออกบางส่วน
แต่เนื่องด้วยความแข็งแรงเดิมกระดูกอ่อนปลายจมูกนั้นมีไม่มากพอ และเคสส่วนใหญ่กระดูกอ่อนผนังกั้นจมูกมีน้อยและไม่แข็งแรง จึงทำให้การเสริมจมูกโอเพ่นยืดผนังกั้นจมูกแบบเดิม ๆ จะได้รูปทรงไม่เป็นที่พอใจของคนไข้มากนัก ปัจจุบันจึงมีการนำกระดูกอ่อนซี่โครงมาใช้ในการเสริมจมูก เพื่อแก้ไขปัญหาปลายจมูกใหญ่ทดแทนกระดูกผนังกั้นจมูก (septum) เนื่องจากมีปริมาณที่มากกว่า และแข็งแรงกว่ากระดูกผนังกั้นจมูก รวมถึงกระดูกอ่อนใบหู (Ear cartilage) นั้นเองครับ
อ่านเพิ่มเติม ปลายจมูกหมู/ปลายจมูกใหญ่เหมือนลูกชมพู่ ทำไมเสริมด้วยซิลิโคนแล้วยังไม่เรียว
Case Review : เสริมจมูกเทคนิค Open Rib Rhinoplasty
Case Review : เสริมจมูกเทคนิค Open Rib Rhinoplasty
คนไข้อีกหนึ่งกลุ่มที่เหมาะอย่างมากที่จะเลือกการเสริมจมูกเทคนิคแก้ไขโครงสร้างโดยใช้กระดูกอ่อนซี่โครง เพราะจะสามารถแก้ไขโครงสร้างจมูกและแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น คือ เคสที่เคยเสริมจมูกมาแล้ว โดยเฉพาะเคสแก้จมูกที่ผ่าตัดมาหลายรอบ หรือเคยติดเชื้อ หรือซิลิโคนทะลุ หรือเคสอุบัติเหตุ(Posttraumatic nose) จนโครงสร้างจมูกถูกทำลายจนผิดรูป(Deformitied Nose) นอกจากนี้เคสคนไข้ปากแหว่งเพดานโหว่ เนื่องจากเคสเหล่านี้จะมีการผิดรูปของโครงสร้างจมูกหลายตำแหน่ง(Cleft Nose) ทั้งแนวกลางและแนวข้างของจมูก ทำให้ต้องแก้ไข้โครงสร้างจมูกหลายจุดพร้อมกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยกระดูกอ่อนที่มีปริมาณมาก และแข็งแรงเพียงพอ
นอกจากนี้ในคนไข้ที่ต้องการแก้ไขจมูกผิดรูปหลายเคส หมอมักจะตรวจพบภาวะจมูกตัน การหายใจผ่านโพรงจมูกมีความผิดปกติ หมอจึงจำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไขการทำงานของโพรงจมูกให้กลับมาใกล้เคียงภาวะปกติร่วมกับการแก้ไขรูปทรงจมูกไปพร้อม ๆ กัน (Functional Rhinoplasty)
เคสที่เคยเสริมจมูกมาแล้ว โดยเฉพาะเคสแก้จมูกที่ผ่าตัดมาหลายรอบ จนเกิดผังพืดหดรั้งบริเวณจมูก (Contracted Nose) จนจมูกดูสั้นและเชิด เห็นรูจมูกชัดเจน ถือเป็นเคสที่เหมาะอย่างมากที่จะเลือกการเสริมจมูกเทคนิคแก้ไขโครงสร้างโดยใช้กระดูกอ่อนซี่โครง เพราะจะสามารถแก้ไขโครงสร้างจมูกและแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น
เนื่องจากเคสจมูกหดรั้ง จะยืดจมูกได้ค่อนข้างยากจากแผลเป็นภายในเนื้อจมูก(Fibrotic scar) ทำให้ต้องอาศัยกระดูกอ่อนซี่โครงที่มีความแข็งแรงและปริมาณมากพอ ที่จะแก้ไข้โครงสร้างจมูกหลายจุดพร้อมกัน
เป็นปัญหาที่พบบ่อยโดยเฉพาะชาวเอเชีย (Congenital Short Nose) เนื่องจากมีโครงสร้างกระดูก (Nasal Bone) ที่สั้น (แถมยังกว้างอีกต่างหาก ยิ่งดูสั้นลงไปอีก) กระดูกอ่อนกั้นกลางจมูก (Cartilaginous Septum) ก็สั้นด้วย นอกจากพันธุกรรมและเชื้อชาติแล้วแล้ว จมูกสั้นอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่
และเนื่องจากเคสจมูกสั้น มักจะมีกระดูกอ่อนกั้นกลางจมูก(septum) สั้นด้วย ทำให้หลายครั้ง ที่ผ่าตัดเสริมจมูกโอเพ่นยืดผนังกั้นจมูกด้วยกระดูกอ่อนseptum ได้ผลไม่ดีนัก ไม่ค่อยแตกต่างจากการเสริมเทคนิคซิลิโคน ซึ่งการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงมายืดปลายจมูก จะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า โดยเฉพาะในเคสที่จมูกสั้น และผิวหนังปลายจมูกหนา
เคสที่เสริมจมูกซิลิโคนมาแล้ว มีปัญหาทะลุ จนติดเชื้อ ทำให้โครงสร้างจมูกเดิมเสียหาย และอาจรุนแรงจนทำให้เนื้อเยื้อผิวหนังที่คลุมจมูกมีการถูกทำลายร่วมด้วย ถือเป็นเคสที่จำเป็นต้องเลือกการเสริมจมูกเทคนิคแก้ไขโครงสร้างโดยใช้เนื้อเยื่อตนเอง ซึ่งกระดูกอ่อนซี่โครงจะมีความเหมาะสม เพราะมีความแข็งแรง และทนทานต่อการติดเชื้อ ช่วยให้สามารถแก้ไขโครงสร้างจมูกที่เสียหาย และใช้ร่วมกับการโยกเนื้อเยื่อผิวหนังข้างเคียงมาซ่อมแซมผิวหนังส่วนที่เสียหายได้
ปัญหาการเสริมจมูกแล้วปลายจมูกบาง สันจมูกบาง เป็นปัญหาที่พบบ่อยมากในปัจจุบัน มักเกิดจากการที่เสริมจมูกด้วยซิลิโคน (Silicone) ที่มีความตึงที่บริเวณปลายจมูกมากเกินไป หรือใส่บริเวณสันจมูกตึงเกินไป อาจเสริมมาแล้วระยะเวลาเป็นหลักเดือนหรือหลักปี ความบางจะมากน้อยขึ้นอยู่กับความตึงและเนื้อจมูกเดิม
สำหรับการแก้ไขนั้นต้องให้แพทย์ประเมินว่าปลายจมูกนั้นมีความบางมากน้อยเพียงใด ถ้าเนื้อจมูกบางไม่มาก สามารถแก้ไขโดยการลดขนาดหรือความยาวของซิลิโคนลง แต่ถ้าเนื้อจมูกมีความบางมาก ไม่ควรแก้ด้วยเทคนิคการเปลี่ยนซิลิโคนเพียงอย่างเดียว การแก้ไขที่ไม่ควรใช้ซิลิโคนเสริมที่จมูก ดังนั้นการแก้ไขจึงแบ่งได้ 2 วิธีหลัก ๆ คือ
เหมาะสำหรับเคสที่ไม่พร้อมเสริมจมูกใหม่ อาจเลือกวิธีเพื่อฟื้นฟูสภาพผิวของบริเวณจมูกที่บาง แล้วเสริมจมูกใหม่อีกครั้ง ประมาณ 9-12 เดือนถัดมา
เหมาะสำหรับเคสที่มีปัญหาผิวจมูกบาง แต่ไม่อยากถอดพักจมูก ยังคงต้องการรักษารูปทรงของจมูก พร้อมกับแก้ไขปัญหาปลายจมูกบาง สันจมูกไปพร้อม การแก้ไขจมูกในรูปแบบนี้ จำเป็นต้องเลี่ยงการใช้ซิลิโคน หรือวัสดุนอกร่างกายดังเดิม ซึ่งกระดูกอ่อนซี่โครง จะตอบโจทย์ตรงนี้ได้ดี เนื่องจากมีปริมาณกระดูกอ่อนมาก สามารถใช้เสริมได้ทั้งสันจมูก และปลายจมูก นอกจากนี้ยังสามารถใช้เยื่อหุ้มกระดูกอ่อนซี่โครงมาฟื้นฟูผิวหนังที่บางได้
สำหรับเคสที่อยากเสริมจมูกทั้งปลายจมูก และสันจมูกที่ค่อนข้างเยอะ เนื่องจากจมูกเดิมปลายจมูกสั้น สันจมูกแฟบ แต่ไม่อยากใช้ซิลิโคน หรือกังวลเรื่องความเสี่ยงของวัสดุนอกร่างกาย กระดูกอ่อนซี่โครงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากมีปริมาณมากพอที่จะใช้ในการเสริมทั้งบริเวณปลายจมูก และสันจมูก แตกต่างจากการเสริมจมูกโอเพ่นโดยใช้กระดูกอ่อนผนังกั้นจมูก ซึ่งจะใช้เสริมได้เฉพาะบริเวณปลายจมูก ในบริเวณสันจมูกอาจต้องใช้วัสดุนอกร่างกายมาเสริมแทน เช่น ซิลิโคน Gore-Tex เป็นต้น
เคสที่เคยฉีดสารเหลว หรือฟิลเลอร์บริเวณสันจมูก มักมีปัญหาสารเหลวที่ฉีดไหลลงด้านข้าง และเป็นก้อน จนจมูกดูบวมใหญ่ ในบางเคสอาจพบเส้นเลือดแดงเล็กๆขึ้นบริเวณจมูก เนื่องจากกระบวนการอักเสบของร่างกายที่ตอบสนองต่อสารเหลวที่ฉีด ปัญหาจากสารเหลวนี้ แก้ไขค่อนข้างยาก เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่อยู่ในชั้นผิวของจมูก ในกรณีสารเหลว การแก้ไขจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดนำก้อนสารเหลวออก ถ้าในกรณีที่เป็นฟิลเลอร์Hyaruron อาจใช้การฉีดสลาย ร่วมกับการผ่าตัดออก ซึ่งการผ่าตัดนำสารเหลวออกนี้ โอกาสที่จะผ่าจนนำออกได้หมด 100% นั้นค่อนข้างยากมากๆ และมักจะมีปัญหาเนื้อจมูกบางลง หลังผ่าตัดออก เนื่องจากต้องมีการตัดส่วนเนื้อจมูกดีรอบๆก้อนสารเหลวออกบางส่วนร่วมด้วย ทำให้การเสริมจมูกหลังเลาะสารเหลวออก มีโอกาสที่ผิวหนังจะหนาบางไม่เท่ากัน และโอกาสติดเชื้อค่อนข้างสูง จึงไม่ควรใช้วัสดุนอกร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นซิลิโคน หรือ Gore-Tex มาเสริมจมูก ซึ่งการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงในการเสริมจมูก จะมีความเหมาะสมในเคสแบบนี้มาก เนื่องจาก มีความคงทนต่อการติ้ดเชื้อ และมีการใช้เยื่อหุ้มกระดูกอ่อนซี่โครงมาเสริมและฟู้นฟูสภาพผิวจมูกที่บางลงหลังจากเลาะสารเหลวออก
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้มีการวิจัยและพัฒนาวัสดุทางการแพทย์หลายๆอย่างเพื่อช่วยในการเสริมจมูก ทำให้การผ่าตัดเสริมจมูกทำได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาในระยะยาวของวัสดุนอกร่างกาย ยังคงมีอยู่ และวัสดุบางประเภท ก็ยังมีการใช้มาไม่นาน ทำให้ผลลัพธ์ในระยะยาวยังไม่เป็นที่ชัดเจน นอกจากนี้ในปัญหาจมูกหลายๆกรณี เช่น ติดเชื้อ จมูกปลายบาง จมูกที่มีปัญหาสารเหลว ปัญหาเหล่านี้จะไม่เหมาะสม ที่จะใช้วัสดุนอกร่างกายในการเสริมจมูก ทำให้หมอหลายท่านยังคงเลือกที่จะเสริมจมูกด้วยเนื้อเยื่อตนเอง(Autologous tissue)
คนไข้หลายคนเลยนะครับที่ยังมีคำถามมากมาย เรื่องการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงในการทำศัลยกรรมจมูก จนไม่รู้ว่าเคสแบบเรานั้นควรเลือกใช้แบบไหนระหว่าง กระดูกอ่อนซี่โครงของตัวเอง หรือ กระดูกอ่อนซี่โครงบริจาค หมอเลยมาไขข้อข้องใจตอบชัดให้ทุกประเด็นแบบเข้าใจง่ายๆ สำหรับไว้ให้ทุกคนใส่เป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจ เมื่อต้องทำศัลยกรรมกันนะครับ
การนำกระดูกซี่โครงของคนไข้มาใช้ในการผ่าตัด โดยปกติแพทย์จะเลือกใช้กระดูกอ่อนซี่โครง (Rib) ซี่ที่ 6,7 หรือ 8 บริเวณข้างขวาของคนไข้ ซึ่งจะผ่าตัดนำออกมาในปริมาณตามดุลยพินิจของแพทย์ และก่อนตัดสินใจใช้กระดูกอ่อนซี่โครงนั้น คนไข้จำเป็นต้องตรวจ CT-Scan Chest (ทรวงอก) เพื่อให้แพทย์เจ้าของไข้ประเมิน ดังนี้
หลังจากตรวจตามผลของ CT-Scan Chest (ทรวงอก) แล้ว แพทย์จะทำการสรุปการประเมินว่าคนไข้สามารถใช้กระดูกอ่อนซี่โครงของตัวเองในการผ่าตัดเพื่อแก้ไขจมูกได้หรือไม่ครับ ซึ่งจำเป็นอย่างมากในการแก้ไขโครงสร้างจมูกไม่ว่าจะเป็นการเสริมใหม่ หรือแก้จมูกก็ตามครับ สรุปคือแพทย์จำเป็นต้องดูว่าคุณภาพกระดูกอ่อนซี่โครงของตัวคนไข้เองนั้น ใช้ได้ไหม และหากนำมาใช้จะสามารถแก้ไขปัญหาตามที่คนไข้ต้องการได้หรือไม่ครับ
นอกจากตรวจ CT-Scan Chest (ทรวงอก) แล้วสิ่งที่จำเป็นต้องตรวจด้วย คือ แพทย์ผ่าตัดจะให้ตรวจประเมินร่างกาย (Physical Examination) ตรวจเลือด (Blood Test) ตรวจเอ็กซ์เรย์ปอด (Chest X-ray) ดูความสามารถในการแข็งตัวของเลือด (Coagulogram) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) และอาจมีตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมตามปัญหาสุขภาพและอายุของคนไข้แต่ละบุคคล ทั้งนี้เพื่อให้วิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologist) ประเมินความพร้อมทางด้านร่างกายของคนไข้ ว่ามีความพร้อมและมีความปลอดภัยที่จะผ่าตัดแบบดมยาสลบได้หรือไม่ครับ
แพทย์จะเปิดแผลผ่าตัดบริเวณซี่โครงซี่ที่ต้องการ เป็นแผลขนาดเล็กประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร แต่ในกรณีคนไข้เคสที่มีผิวและชั้นไขมันค่อนข้างหนา แพทย์อาจจำเป็นต้องเปิดแผลผ่าตัดยาวขึ้น เพื่อเพิ่มการมองเห็น field ผ่าตัดได้มากขึ้นนั้นเองครับ โดยการผ่าตัดเพื่อเก็บกระดูกอ่อนซี่โครงแบบนี้ ต้องทำการผ่าตัดแบบดมยาสลบ (General Anesthesia) จะดีที่สุดครับ ถ้าเป็นผู้หญิงแพทย์ก็จะเปิดแผลใต้ราวนม ในกรณีนี้ใครที่เสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนมาก่อนจำเป็นต้องแจ้งแพทย์ทุกครั้งนะครับ เพราะแพทย์จะได้วางแผนผ่าตัด เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนซิลิโคนเต้านมที่คนไข้เสริมมานั้นเองครับ
หมายเหตุ : ในบางเคสหลังการเสริมโครงสร้างจมูก (Structural Rhinoplasty) แล้วมีกระดูกอ่อนบางชิ้นที่ไม่ได้ใช้ หรือเหลือบางส่วน แพทย์จะเก็บไว้ในบริเวณลึก ๆ ของแผลผ่าตัด หรือในบางเคสอาจเก็บใต้หนังศีรษะบริเวณท้ายทอยด้านข้าง เมื่อจำเป็นต้องใช้ภายหลัง จึงไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อเก็บซี่โครงใหม่
เป็นทางเลือกหนึ่งในการนำมาใช้ในศัลยกรรมตกแต่ง หรือศัลยกรรมจมูก (Rhinoplasty) โดยเฉพาะในกรณีที่คนไข้ไม่สามารถใช้กระดูกอ่อนซี่โครงของตัวเองได้ (Autologous Costal Cartilage) ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้กระดูกอ่อนปริมาณมากและแข็งแรงเพียงพอในการตกแต่งและเสริมโครงสร้างจมูกใหม่ (Structural & Reconstruction Rhinoplasty)
บริษัทผู้ผลิตแต่ละแห่งจะมีขบวนการ (Processing) ในการกำจัดเชื้อโรค และสิ่งที่ปนเปื้อนที่เราไม่ต้องการออก โดยมีกระบวมการที่แตกต่างกันไป ดังนี้
ท้ายสุดก็จะได้กระดูกอ่อนซี่โครงที่ไม่มีชีวิตแล้ว (Nonvital Chondrocyte) ปะปนกับ Collagen และเนื้อเยื่อชนิด Proteoglycan บางส่วน
การใช้กระดูกอ่อนซี่โครงบริจาค เป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีข้อจำกัดในการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงตัวเอง เช่น
การเสริมจมูกใหม่หรือแก้จมูก โดยใช้กระดูกอ่อนซี่โครง (Cartilage Rhinoplasty) คือ การนำกระดูกอ่อนซี่โครงมาตกแต่ง เสริมแทนที่โครงสร้างจมูกเดิมของเรา เพื่อปรับรูปร่างและขนาดของจมูกให้เหมาะสมกับใบหน้าของคนไข้โดยเป็นการผ่าตัดที่จำเป็นต้องใช้เทคนิคและทักษะทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สวยงามและธรรมชาติ จากที่เราศึกษาและได้อ่านข้อมูลเรื่องความแตกต่างของ กระดูกอ่อนซี่โครงตัวเอง VS ซี่โครงบริจาค ในบทความก่อนหน้านี้เรียบร้อยแล้ว ในรอบนี้หมอจะพามาทำความเข้าใจเรื่องเทคนิคการนำกระดูกอ่อนซี่โครงมาใช้ในการผ่าตัดศัลยกรรมจมูกกันครับ
แพทย์สามารถนำกระดูกอ่อนซี่โครงทั้งของตัวคนไข้เอง หรือซี่โครงบริจาค มาใช้ในการเสริมสร้างและตกแต่งจมูกได้หลากหลายรูปแบบ (Different Forms) ได้แก่
1.การใช้ในลักษณะเป็นชิ้น (Block Form)
การใช้เทคนิคนี้เหมาะสำหรับเคสที่กระดูกอ่อนซี่โครงมีแคลเซียมบ้างระดับหนึ่ง (Some degree of ossification) จะได้ไม่แตก หรือเปราะง่าย ส่วนเรื่องของขนาด ความยาว และความหนาของกระดูกแต่ละชิ้น ขึ้นอยู่กับว่าแพทย์จะเอาไปใช้ในวัตถุประสงค์อะไร เช่น
โดยการนำมาใช้แพทย์จะพิจารณาใช้ 1 ชิ้น วางชั้นเดียว (Mono-Block Form) หรือนำมาวางซ้อนกันหลายชั้น ในบางตำแหน่ง (Multilayer-Block Form / Laminated Form) เพื่อลดโอกาสในการเกิดการคด หรืองอภายหลัง (Warping Rate)
2. การใช้ในลักษณะบดละเอียด (Diced / Crushed Form)
โดยแพทย์จะนำชิ้นกระดูกอ่อนซี่โครงมาทำการบดละเอียดจนเป็นลักษณะผง (Ultrafine Diced Cartilage) เหมาะสำหรับในกรณีดังต่อไปนี้ คือ
เคสที่ต้องการเติมสันจมูก (Dorsal Augmentation) ให้ออกมาเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องการให้เห็นขอบสันจมูกคมชัดจนเกินไป (Very Natural Dorsal Aesthetic line)
แพทย์จะใช้ในกรณีที่ต้องการปรับความผิดปกติเล็กน้อยที่ตามโครงสร้างจมูกของคนไข้ เช่น มีการคด หรือเอียงของสันจมูกเพียงเล็กน้อย แบบนี้แพทย์สามารถนำกระดูกอ่อนซี่โครงที่บดแล้วมาเติมและปรับแต่งให้เหมาะสมได้
เคสที่กระดูกอ่อนซี่โครงอ่อนนุ่ม (Elastic) ยังไม่มีส่วนของกระดูกแข็ง หรือแคลเซียมมาเกาะ (No Ossification) และชิ้นส่วนนั้น ๆ ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เป็น Mono Bloc หรือ Laminated Dorsal Implant ได้
เคสที่ระหว่างการผ่าตัดตกแต่ง หรือเหลากระดูกอ่อนแล้ว พบว่ามีการคดงอของชิ้นกระดูกอ่อนทันที (Immediate Warping)
ซึ่งเทคนิคนี้ไม่เหมาะกับเคสที่กระดูกอ่อนซี่โครงมีการสะสมของแคลเซียม หรือกระดูกแข็งเข้ามาแทรกในปริมาณมากนะครับ รวมถึงเคสที่มีการติดเชื้อ โดยเทคนิคการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงบดละเอียด มีวิธีการใช้ในหลาย ๆ รูปแบบ ได้แก่
3. การใช้ในลักษณะแบบผสม (Mixed Form)
ในเทคนิคนี้แพทย์อาจพิจารณาใช้ทั้ง 2 เทคนิคข้างต้นมารวมกัน ทั้งแบบที่เป็นชิ้น (Block Form) และแบบบดละเอียด (Diced Form) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็น สถานการณ์ และความพึงพอใจของคนไข้ในแต่ละบุคคล รวมไปถึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ในการประเมินเคสนั้นๆ ด้วย
ในปัจจุบันนี้เราคงต้องยอมรับว่าเคสคนไข้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้จมูกโอเพ่นมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และในหลายเคสได้รับการผ่าตัดแก้ไขโครงสร้างทรงจมูก ด้วยเทคนิค Open มาก่อนแล้ว อ่าวก็ไหนว่าเทคนิค Open ทำแล้วจะจบไง ? วันนี้หมอจะพามาหาคำตอบพร้อมๆ กันครับว่าทำไหมคนที่เสริมจมูก Open มาแล้วยังต้องแก้จมูกโอเพ่นโดยใช้กระดูกอ่อนซี่โครงอีก
เหตุผลนี้ถือเป็นเหตุผลยอดฮิตที่คนเลือกแก้จมูกโอเพ่นยืดผนังกั้นจมูกเลยครับ คนไข้กลุ่มนี้เข้ามาปรึกษาหมอบ่อยมาก โดยเฉพาะใน 1-2 ปีนี้ ยิ่งมีมากขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผลการผ่าตัดครั้งแรก แม้จะทำด้วยเทคนิคโอเพ่นแล้ว แต่ยังไม่ได้ทรงที่พอใจนั้นมีได้หลายสาเหตุเลยครับ หมอขอยกตัวอย่าง 4 กลุ่มที่หมอพบบ่อยๆ เช่น
กลุ่มที่ 1 เคสที่มีโครงสร้างจมูกเดิมสั้น แต่ต้องการให้จมูกดูยาวขึ้น ในการผ่าตัดเสริมจมูก Open ครั้งแรกได้รับการยืดปลายจมูกด้วยกระดูกอ่อนผนังกั้นกลางจมูกแล้ว แต่ยังไม่ได้ความยาวตามที่ต้องการ สาเหตุกระดูกอ่อนผนังกั้นกลางจมูกที่นำมาใช้ในการยืดปลายจมูกนั้นมักจะมีขนาดเล็ก และมีขนาดสั้น เวลาที่แพทย์นำมาผ่าตัดแก้ไข้โครงสร้างเพื่อยืดปลายจมูกทำให้กระดูดอ่อนยาวไม่พอจะค้ำปลายจมูกให้ยาวขึ้น หลังผ่าตัดจึงได้ผลลัพธ์ไม่มากนัก บางครั้งความยาวปลายจมูกที่ได้ อาจไม่ต่างจากการเสริมซิลิโคนก็มีเหมือนกันครับ เช่นเดียวกันกับ
กลุ่มที่ 2 เคสที่มีโครงสร้างจมูกเดิมเนื้อปลายจมูกหนาใหญ่ ทำให้กระดูกอ่อนผนังกั้นกลางจมูกนั้นเล็ก ไม่สามารถยกปลายจมูกและปรับรูปทรงได้ชัดเจนตามที่คนไข้ต้องการครับ ซึ่งคนไข้ทั้งสองกลุ่มนี้ เหมาะสำหรับการแก้จมูกด้วยกระดูกอ่อนซี่โครง
กลุ่มที่ 3 เคสที่ผ่าตัดเสริมจมูกโอเพ่น แบบผิดวัตถุประสงค์ กล่าวคือผ่าตัดเสริมจมูก Open แต่ใช้ซิลิโคนในการเสริมสันจมูกและปลายจมูก ไม่ได้มีการแก้ไขโครงสร้างจมูกร่วมด้วย ทำให้รูปทรงจมูกที่ได้นั้นอาจจะไม่แตกต่างจากรูปทรงจมูกเดิม เพียงแค่จะดูจมูกมีมิติขึ้นเท่านั้น หรือในกลุ่มที่เคยเสริมซิลิโคนมาแล้ว มาแก้จมูกโอเพ่นแบบผิดวัตถุประสงค์นี้ก็เช่นกัน ทรงจมูกหลังแก้จะไม่ต่างจากทรงที่เคยเสริมเทคนิคซิลิโคนมาก่อนนั้นเองครับ อีกกลุ่มหนึ่งที่เข้ามาปรึกษาหมอบ่อยเช่นกัน คือ
กลุ่มที่ 4 เคสที่รูปทรงจมูกไม่ได้สัดส่วนกับใบหน้า เช่น สันจมูกสูงเกินไป ทำให้ภาพรวมของใบหน้าดูแข็งเกินไป เป็นต้น
หลายเคสเคยเลยนะครับที่เคยเสริมจมูกโอเพ่นมาแล้ว ปลายจมูกพุ่ง เล็ก ตีบเกินไป ปีกจมูกแฟบ ดูไม่ธรรมชาติ สำหรับสาเหตุนี้มักเกิดจากการเสริมจมูกที่ยกปลายจมูกไม่ได้สัดส่วนกับสันจมูกและโครงสร้างใบหน้า หรืออาจเกิดจากการเย็บตกแต่งกระดูกอ่อนปีกนกบริเวณปลายจมูกผิดวิธี และมีหลายๆ ครั้งเกิดจากคนไข้ได้รับการเสริมจมูก Open มาแต่ใช้ซิลิโคนในการเสริมทั้งปลายจมูกและสันจมูก ทำให้ปลายจมูกนั้นถูกยกขึ้นเฉยๆ โดยไม่ได้มีการแก้ไขโครงสร้างให้ปลายจมูกไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับความกว้างฐานจมูก นอกจากนี้การผ่าตัดดังกล่าวจะทำให้รูจมูกถูกกดลง เห็นแนวรอยต่อระหว่างปลายจมูก และปีกจมูกชัดเจนขั้นอีกด้วย เมื่อเวลาผ่านไปร่างกายของคนไข้มีการสร้างและหดรั้งของพังผืดรอบซิลิโคน ทำให้รอยต่อนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น ปลายจมูกก็ยิ่งจะเห็นเป็นลักษณะหัวซิลิโคนชัด ทำให้ทรงจมูกดูไม่เป็นธรรมชาติ
เกิดจากการผ่าตัดเสริมจมูกโอเพ่น ที่ไม่เหมาะสมมีการใช้ซิลิโคนในการเสริมทั้งสันและปลายจมูก บางครั้งอาจมีการใช้กระดูกอ่อนหลังใบหู หรือเนื้อเยื่อเทียมรองปลายจมูกด้วย แต่เนื่องจากวัสดุที่เลือกใช้นั้นเป็นวัสดุนอกร่างกาย สังเกตตัวเองได้จากอาการหากเสริมจมูกแล้วเกิดความตึงบริเวณปลายจมูกอยู่มาก แบบนี้ก็สามารถทำให้เกิดภาวะผิวหนังปลายจมูกบาง หรือบางเคสรุนแรงถึงขั้นปลายจมูกทะลุได้ครับ ซึ่งการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงในการเสริมจมูก ร่วมกับใช้เยื่อหุ้มกระดูกอ่อนฟื้นฟูสภาพผิวที่บาง ให้หนาขึ้น
สาเหตุนี้เป็นอีกสาเหตุที่พบได้บ่อย และแก้ไขค่อนข้างยากครับ เพราะมีความซับซ้อนในการผ่าตัด มักเกิดจากการผ่าตัดเสริมจมูกโอเพ่นที่ไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดจากปลายจมูกคนไข้มีการเบี้ยวเอียง หรือผิดรูปเดิมอยู่แล้ว ทั้งจากเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดจากอุบัติเหตุ แต่การเสริมจมูกโอเพ่นครั้งก่อนหน้าไม่ได้แก้ปัญหานี้ให้จบก่อน จึงทำให้ผลลัพธ์หลังเสริมจมูก Open ปลายจมูกยังดูเบี้ยวเอียงอยู่ ซึ่งการแก้ไขต้องใช้กระดูกอ่อนปริมาณที่มากพอมาซ่อมแซมโครงสร้างจมูกส่วนที่เสียหาย ทำให้การเสริมจมูกด้วยกระดูกอ่อนซี่โครงเหมาะสำหรับเคสเหล่านี้
สำหรับสาเหตุนี้ มักเกิดจากหลายปัจจัยแตกต่างกันไปแล้วแต่โครงสร้างของแต่ละบุคคลครับ เช่น
โดยปัญหาแกนสันจมูกเอียงจากโครงสร้าง หลายๆครั้งต้องได้รับการตอกฐานจมูก เพื่อบิดจมูกให้อยู่แนวกลางใหม่ ทำให้เคสแก้จมูกสาเหตุนี้ มักต้องใช้กระดูกอ่อนที่ปริมาณมากและแข็งแรง เพื่อพยุงโครงสร้างจมูก
คำถามนี้คนไข้ที่กำลังตัดสินใจจะแก้จมูกด้วยกระดูกอ่อนซี่โครง จะถามหมอบ่อยๆครับ “คุณหมอถ้าเราผ่าตัดเอากระดูกอ่อนซี่โครงออกมาเสริมจมูกแล้ว ตรงบริเวณซี่โครงที่หมอเอาออกมาจะเป็นอะไรไหม เสี่ยงอะไรหลังจากนั้นหรือป่าว ?” หมอขอแบ่งเป็น 2 ประเด็นนะครับ ประเด็นแรก คือ กระดูกอ่อนซี่โครงที่หมอผ่าตัดเอาออกมานั้นจะเป็นกระดูกอ่อนซี่ที่ 6 – 8 ซึ่งเป็นส่วนที่ร่างกายเราไม่ได้ใช้งาน คล้ายๆ เป็นเหมือนอะไหล่ไว้ให้ร่างกายเราประมาณนั้นครับ การนำออกมาจึงไม่ส่งผลกระทบอะไรกับระบบการทำงานของร่างกายนั้นเองครับ
ส่วนประเด็นที่สอง คือ หลังจากผ่าตัดนำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมานั้นเสี่ยงไหม หมอต้องบอกเลยว่าการผ่าตัดนำกระดูกซี่โครงออกจะมีผลกระทบที่ตามมาอยู่แล้วครับ แต่จะเกิดมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นแค่ชั่วคราวเท่านั้น หมอจะขออธิบายผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังผ่าตัดนำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมา โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน และสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในบางคนเท่านั้นนะครับ
1. รอยแผลผ่าตัดที่หน้าอก (Surgical Scar)
เป็นสิ่งที่ต้องเจอแน่นอนครับ เนื่องจากเรามีการผ่าตัดบริเวณใต้หน้าอก เพื่อนำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมา โดยแผลจะมีขนาดตั้งแต่ 1.5 – 4 เซนติเมตร ซึ่งขนาดของแผลขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นไขมันที่หน้าอกบริเวณที่ผ่าตัด และความยาวของกระดูกอ่อนซี่โครงที่แพทย์ต้องนำออกมานะครับ แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้มีการนำกล้อง (Endoscope) มาช่วยในการผ่าตัดเพื่อช่วยให้ลดขนาดแผลผ่าตัดให้เล็กลง หรือบางเคสอาจเลือกการผ่าตัดผ่านแผลบริเวณรอบลานหัวนมก็จะช่วยให้ลดการเห็นรอยแผลผ่าตัดได้ โดยรอยแผลผ่าตัด (Surgical Wound) มักจะเห็นชัดในช่วง 1-3 เดือนแรก หลังจากนั้นแผลจะค่อยๆ จางลดจนสีใกล้เคียงผิวหนังบริเวณข้างเคียงครับ
ส่วนอีกหนึ่งเรื่องที่คนไข้กังวลเยอะ คือ แผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar) และแผลเป็นคีลอยด์ (Keloid) หลังผ่าตัด หมอจะบอกว่ากรณีแบบนั้นไม่ได้เกิดกับทุกเคสนะครับ โดยเฉพาะแผลเป็นคีลอยด์นั้นโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะว่าเราสามารถป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลเป็นคีลอยด์ด้วยวิธีต่างๆ ได้ เช่น การเลือกเทคนิคการผ่าตัดที่มีการรบกวนต่อขอบแผลน้อย มีการตกแต่งและเย็บแผลที่เหมาะสม มีการดูแลแผลหลังผ่าตัดที่ดีตามแพทย์แนะนำ การดูแลเหล่านี้จะสามารถลดโอกาสเกิดแผลเป็นคีลอยด์ได้ แต่สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่เราไม่อาจควบคุมได้ คือ พันธุกรรมของแต่ละบุคคลครับ เช่น พันธุกรรมเป็นคนที่เป็นแผลเป็นง่าย เป็นต้น
ในกรณีที่หลังผ่าตัดแล้วเกิดแผลเป็นนูน หรือแผลเป็นคีลอยด์ แพทย์มีวิธีแก้ไข คือ อาจเริ่มจากการใช้ยาสเตียรอยด์ (Steroid) ฉีดที่แผลเพื่อให้แผลนูนนั้นยุบตัวลง เลเซอร์ลดรอยแผลเป็นนูนใช้ในกรณีที่แผลเป็นนั้นนูนมาก หรือในเคสที่ใช้วิธีแรกแล้วไม่ได้ผลแพทย์จะพิจารณาใช้การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นนูน หรือแผลเป็นคีลอยด์ เพื่อตกแต่งแผลและเย็บใหม่ให้เหมาะสมเป็นลำดับสุดท้ายครับ
2. อาการปวดแผลหลังผ่าตัด (Postoperative Pain)
อาการปวดนี้เกิดเนื่องจากการผ่าตัดมีการไปรบกวนกล้ามเนื้อผนังช่องอกและเยื่อหุ้มกระดูกอ่อนซี่โครง ซึ่งถ้าหากมีการรบกวนกล้ามเนื้อเหล่านี้มากก็จะทำให้เกิดอาการปวดหลังผ่าตัดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเคสที่มีการตัดกล้ามเนื้อบางส่วน เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการผ่าตัดนำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมา อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และเราสามารถระงับอาการปวดได้ด้วยการฉีดยาแก้ปวด ใน 24 – 48 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด และรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยากลุ่ม NSAIDS หลังผ่าตัด 1-2 สัปดาห์แรกเพื่อลดอาการปวดก็เพียงพอแล้วครับ หลังจากนั้นอาจจะเหลืออาการปวดบางเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ข้อควรระวังหลังผ่าตัด คือ ในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังผ่าตัด ควรงดออกกำลังกายหนัก และงดการยกของหนักต่างๆ ครับเพราะจากกระทบการแผลผ่าตัดได้ครับ
3. อาการรู้สึกหายใจเข้าไม่สุด หรือหายใจตื้นหลังผ่าตัด (Shallow Breathing)
อาการหายใจตื้นและหายใจเร็วจะพบในช่วงแรกหลังผ่าตัด เนื่องจากอาการปวดบริเวณแผลที่ผ่าตัดทำให้หายใจเข้าได้ไม่เต็มที่ เพราะการหายใจเข้ามากๆ นั้นทำให้ไปขยายทรวงอกให้กว้างขึ้น จึงไปกระตุ้นอาการปวดแผลได้ เมื่ออาการปวดดีขึ้นการหายใจก็จะกลับมาเป็นปกติครับ ในระยะยาวการนำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมาเสริมจมูกนั้น ไม่มีผลต่อการหายใจของเรานะครับ เนื่องจากกระดูกซี่โครงที่นำออกมาเป็นกระดูกอ่อนและมีขนาดไม่ใหญ่มาก (ใช้ประมาณ 5-7 เซนติเมตร) จึงไม่ส่งผลต่อการขยายตัวของช่องอกเวลาเราหายใจเข้าหรือออก อย่างไรก็ตามถ้าให้สังเกตตัวเองด้วยนะครับ หากมีอาการหายใจไม่สุด แน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายในช่วงหลังผ่าตัดมาระยะหนึ่งแล้ว ควรรีบแจ้งแพทย์ผู้ผ่าตัดทันที เพราะอาจเกิดจากมีภาวะเยื่อหุ้มปอดรั่วเป็นสาเหตุร่วมด้วยได้ครับ
1. แผลติดเชื้อหลังผ่าตัด (Surgical wound infection)
การติดเชื้อของแผลหลังผ่าตัด อาจเกิดขึ้นได้ครับ แผลมักจะมีอาการบวมแดง กดแล้วเจ็บมาก ถ้าอาการติดเชื้อเป็นมากจะมีหนองไหลออกมาจากแผลได้ อย่างไรก็ตามภาวะแผลติดเชื้อนี้เราสามารถป้องกันได้ โดยการทำความสะอาดแผลหลังผ่าตัดด้วยยาฆ่าเชื้อและน้ำเกลือที่สะอาด ร่วมกับมาตรวจและติดตามอาการหลังผ่าตัดกับแพทย์อย่างเคร่งครัดครับ
2. ภาวะเลือดออก (Hemorrhage) หรือเลือดคั่งหลังผ่าตัด (Hematoma)
เคสส่วนใหญ่มักจะไม่มีภาวะเลือดออกตามมาหลังผ่าตัดครับ ยกเว้นกรณีคนที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคเลือดออกง่าย หรือใช้ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเกร็ดเลือดเป็นประจำ อาจจะเกิดภาวะเลือดออกหลังผ่าตัดได้ครับ เนื่องจากการผ่าตัดทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ หรือเส้นเลือดขนาดเล็กตามเนื้อเยื่ออ่อนรอบ ๆ กระดูกอ่อนซี่โครง หลังจากผ่าตัดนำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมา บริเวณดังกล่าวจึงอาจจะเกิดภาวะเลือดออกได้ครับ แต่ไม่ใช่เลือดออกจำนวนมากจากการบาดเจ็บเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่ เพราะแพทย์ผู้ผ่าตัดจะทำการห้ามเลือดหลังผ่าตัดนำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมาทุกครั้ง ดูจนแน่ใจว่าไม่มีเลือดออกต่อแล้ว จึงจะทำการเย็บปิดแผลผ่าตัดครับ
3. ภาวะเยื่อหุ้มปอดรั่ว (Pneumothorax)
ภาวะนี้เกิดจากการบาดเจ็บของเยื่อหุ้มปอดขณะผ่าตัดนำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมาได้ครับ ซึ่งอาจอาการของภาวะนี้ อาจจะเป็นเพียงอาการเล็กน้อย หรือเป็นถึงขั้นอาการรุนแรงมีผลต่อระบบการหายใจ จนต้องใส่สายระบายลมออกจากช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มปอดได้ แต่ภาวะนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากครับ หากแพทย์ผู้ผ่าตัดเป็นแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญในการผ่าตัดนำกระดูกซี่โครงออกมาอยู่แล้ว ขณะผ่าตัดจะต้องใช้ความระมัดระวังสูง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บต่อเยื่อหุ้มด้านหลังกระดูกอ่อนซี่โครงที่ติดกับเยื่อหุ้มปอด และหลังจากนำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมาแล้ว แพทย์ผู้ผ่าตัดจะทำการตรวจเช็คว่ามีลมรั่วออกมาจากปอดในบริเวณที่ผ่าตัดหรือไม่ ก่อนทำการเย็บปิดแผลผ่าตัด
4. ภาวะผนังทรวงอกบริเวณที่ผ่าตัด ยุบตัวผิดรูป (Chest wall deformity)
เกิดจากการที่นำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมาแล้ว เนื้อเยื่ออ่อนผนังทรวงอกมีการยุบตัวไปแทนที่ตำแหน่งช่องว่างที่แพทย์ได้นำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมา ซึ่งมักเกิดและเห็นได้ชัดเจนในคนไข้ที่ผอมที่มีการนำกระดูกอ่อนซี่โครงออกหลายตำแหน่ง ยกตัวอย่างเช่น ในเคสคนไข้ที่ไม่มีใบหูตั้งแต่กำเนิด จำเป็นต้องนำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมาหลายชิ้นเพื่อให้ได้บริมาณที่มากพอที่แพทย์จะนำไปใช้ในการผ่าตัดตกแต่งใบหูใหม่ แต่ในกรณีที่เรานำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมาใช้สำหรับเสริมจมูก หรือแก้จมูก แพทย์มักจะใช้เพียงหนึ่งชิ้น ผ่าตัดเพียง 1 ตำแหน่ง และนำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมาขนาดประมาณ 5-7 เซนติเมตรเท่านั้น จึงลดโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะผนังทรวงอกบริเวณที่ผ่าตัด ยุบตัวผิดรูป (Chest wall deformity) โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีผนังทรวงอกหนา จะไม่เกิดภาวะนี้ครับไม่ว่าจะมองจากภายนอก หรือคลำบริเวณแผลผ่าตัดที่นำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมา ส่วนกรณีคนไข้ผอมอาจจะคลำแล้วเจอช่องวางที่นำกระดูกอ่อนซี่โครงออกมาได้บางครับ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันทางการแพทย์เรามีเทคนิคการลดช่องวาง โดยการนำกระดูกอ่อนซี่โครงที่นำออกมาแล้วเหลือจากการใช้ในการเสริมจมูก ร่วมถึงเนื้อเยื่อไขมัน นำมาใส่ทดแทนในช่องว่างดังกล่าว เพื่อช่วยให้ลดช่องว่างนี้ให้คลำเจอได้ยากขึ้นแม้ในคนไข้ที่ผอมก็ตามครับ
ปรึกษาและวิเคราะห์ปัญหาโครงสร้างจมูก
ออกแบบทรงจมูก แบบเคสต่อเคส
ตรวจเยื่อบุโพรงจมูกด้านใน ผนังกั้นจมูกและไซนัสด้วยกล้องส่องโพรงจมูก ร่วมกับประเมินปัญหาภาวะจมูกตัน
CT Scan โครงสร้างจมูกและกระดูกใบหน้า เพื่อประเมินปัญหาที่ซ่อนอยู่
วางแผนการผ่าตัดจากข้อมูลต่าง ๆ อย่างรายละเอียด
ตรวจสุขภาพ เพื่อประเมินก่อนการดมยาสลบ โดยวิสัญญีแพทย์
การผ่าตัด ใช้เวลาประมาณ 6-12 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับความยากง่าย)
หลังการผ่าตัด 3 วันแรก นัดทำความสะอาดแผลผ่าตัดที่จมูกและอก ร่วมกับการฉายแสงลดบวม (Low Level Laser) และการให้ยาฆ่าเชื้อหลังการผ่าตัด
นัดตัดไหมที่จมูกและอก ประมาณ 7-14 วัน ใส่เฝือกหลังการผ่าตัด 7-14 วัน
นัดติดตามอาการ 14 วัน, 1 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน, 1 ปีหลังการผ่าตัด หลังจากนั้นจะติดตามปีละ 1 ครั้ง