fbpx

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

เมื่อคนเราอายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายย่อมมีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมสภาพไปตามวัย จากผิวหนังที่เคยเต่งตึงเปล่งปลั่งก็เริ่มที่จะเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นและหย่อนคล้อยไปตามวัย และถ้าหากไม่มีการดูแลตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะยิ่งทำให้ความหย่อนคล้อยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าและลำคอ แล้วความหย่อนคล้อยที่เกิดขึ้นนี้ ควรรักษาด้วยวิธีไหน จะผ่าตัดดึงหน้า ทำไฮฟู่ หรือสารคลายกล้ามเนื้อดี บทความนี้มีคำตอบ

ทำความรู้จักกับความหย่อนคล้อยของใบหน้าและลำคอ

ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับวิธีรักษาความหย่อนคล้อยของใบหน้าและลำคออย่างการผ่าตัดดึงผิวหน้าให้ตึง เราควรที่จะทำความเข้าใจกับลักษณะของความหย่อนบนใบหน้าและลำคอก่อน ซึ่งจะเกิดขึ้นที่ 7 บริเวณบนใบหน้าและลำคอ ดังนี้

ควรรู้ก่อนผ่าตัดดึงหน้า ใครร้อยไหมไม่ขึ้น ใคร HIFU หลายรอบไม่จบ ต้องอ่าน !!

1.บริเวณหน้าผากและคิ้ว

  • เกิดรอยย่นพับเป็นจีบ (Deep Horizontal Forehead Furrow)
  • คิ้วตก (Eyebrow Ptosis)
  • ระยะระหว่างไรผมถึงคิ้วจะกว้างขึ้น หรือที่เรียกว่า “หัวเถิก” (Elongation of Forehead)

2.บริเวณดวงตา

  • กล้ามเนื้อยกหนังตาอ่อนแรงจากการยืด / หย่อน (Aponeurotic Ptosis)
  • หนังตาบนหย่อนคล้อยตกลงมาบางครั้ง บังจนไม่เห็นชั้นตา (Dermatochalasis)
  • บริเวณหางตาจะตกลงมาเร็วกว่าบริเวณอื่นจนแลดูเป็นคนเศร้าหมอง (Lateral Hooding)

3.บริเวณจมูก

  • ปลายจมูกจะงุ้มและเตี้ยลง (Tip Ptosis)

4.บริเวณแก้มส่วนบน

  • มองเห็นร่องใต้ตาชัดขึ้น (Tear Trough Deformity)
  • ร่องแก้มเราลึกขึ้น (Deepening Nasolabial Fold)

5.บริเวณปาก

  • มุมปากเราก็จะตกและคว่ำลง (Drooping Angle Of Mouth)
  • ระยะระหว่างจมูกกับริมฝีปากบนยืดยาวขึ้น (Upper Lip Elongation)

6.บริเวณแก้มส่วนล่าง

  • เกิดหมาจู (Jowl)
  • ร่องน้ำหมาก (Marionette Fold)
  • กรอบหน้า และคอที่คมชัดหายไป (Loss Definition Of Face & Neck) ทำให้แก้มส่วนล่างกับคอส่วนกลมกลืนเป็นผืนเดียวกัน แยกกันไม่ออก

7.บริเวณคอ

  • เห็นเหนียงชัดขึ้น
  • ยิ่งถ้ามีไขมันสะสมด้วย ก็จะเห็นเป็นคาง 2 ชั้น (Double Chin)
  • ความหย่อนคล้อยจะทำให้มุมของคางกับลำคอดูป้านขึ้น (Obtuse Cervicomental Angle)
    (ปกติมุมนี้ที่เหมาะสมและดูอ่อนวัย จะอยู่ระหว่าง  105-120 องศา) ยิ่งบางคนคางยุบ และเล็กลงอีก ก็จะทำให้มุมระหว่างคางกับคอป้านมากขึ้นไปอีก
  • บางคนจะมีร่องในแนวขวางของคอ(Horizontal Neck Wrinkle)
  • บางคนบริเวณกลางลำคอมีแท่งนูนชัดเชื่อมระหว่างคางกับกระดูกไหปลาร้า ในแนวตรงเห็นเป็นลำ (Platysma Banding)
  • บางคนกล้ามเนื้อ (Platysma) หย่อนยานจนทำให้ไขมัน ต่อมน้ำลาย ย้อยมากองบริเวณตรงกลางคอ (Turkey Neck) 

ความหย่อนคล้อยของใบหน้าและคอ (Facial Sagging) เกิดจากอะไร ?

สาเหตุของความหย่อนคล้อยบนใบหน้าและลำคอ แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้

1.การหดตัวเกร็งของกล้ามเนื้อทั้ง 2 กลุ่ม บนใบหน้าและคอ

บริเวณใบหน้าและลำคอจะมีกล้ามเนื้อ 2 กลุ่มหลัก ๆ ที่มีแรงดึงระหว่างกัน แบ่งเป็นกล้ามเนื้อกลุ่มดึงหน้าขึ้น (Elevator Muscle) และกล้ามเนื้อกลุ่มดึงหน้าลง (Depressor Muscle) โดยถ้าหากกล้ามเนื้อกลุ่มดึงหน้าลงมีแรงดึงที่มากกว่าก็จะทำให้ใบหน้าและลำคอหย่อนคล้อยนั่นเอง

รูปภาพตัวอย่างกล้ามเนื้อกลุ่มดึงหน้าขึ้นและกล้ามเนื้อกลุ่มดึงหน้าลง

2.โครงกระดูกของใบหน้า (Facial Bone)

เมื่อเรามีอายุเพิ่มมากขึ้น โครงกระดูกบนใบหน้า (Facial Bone) รวมถึงกระดูกส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จะมีขนาดเล็กลงจากกระบวนการสลายของกระดูกที่มากกว่าการสร้างมวลกระดูก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่สูบบุหรี่จัด และผู้ที่มีความเครียดสูง
การที่โครงกระดูกบนใบหน้าเล็กลงจะทำให้เกิดผลกระทบตามมาหลายอย่าง เช่น

  • โครงหน้ายุบลงจนทำให้ใบหน้าดูตอบ และส่งผลให้เอ็นที่ทำหน้าที่ยึดใบหน้าหย่อนยานตาม
  • โหนกกระดูกบางตำแหน่งที่ทำหน้าที่ค้ำยันใบหน้าเล็กลง เช่น โหนกแก้มที่ค้ำยันผิวหนังใต้ตาไว้จะมีมวลกระดูกเล็กลง ทำให้ผิวหนังใต้ตาหย่อนคล้อยลงมา

นอกจากนี้ เมื่อเราอายุเพิ่มมากขึ้น แกนกระดูกบนใบหน้าของคนเราจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ทำให้บริเวณใต้ตาและแก้มยุบลง ปลายจมูกงุ้ม และปลายคางเตี้ยลงอีกด้วย

ควรรู้ก่อนผ่าตัดดึงหน้า ใครร้อยไหมไม่ขึ้น ใคร HIFU หลายรอบไม่จบ ต้องอ่าน !!
ควรรู้ก่อนผ่าตัดดึงหน้า ใครร้อยไหมไม่ขึ้น ใคร HIFU หลายรอบไม่จบ ต้องอ่าน !!

3.เอ็นที่ยึดระหว่างผิวหนัง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และกระดูกบนใบหน้าหย่อนยาน

เอ็นที่ยึดระหว่างผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังกับกระดูกบนใบหน้า (Facial Ligament) จะเปรียบเสมือนกับ “ตะปู” ที่ตอกยึดหน้าเราไว้ให้อยู่กับที่ ซึ่งจะมี 3 จุดที่แข็งแรงเป็นพิเศษ และหย่อนช้ากว่าเอ็นบริเวณอื่น ๆ ตามรูปภาพ เพื่อไม่ให้ผิวหน้าของเราหย่อนคล้อยลงมา
อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น เอ็นเหล่านี้จะเริ่มหย่อนยาน ใช้การไม่ได้ มีแรงยึดเกาะน้อยลง ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ก็จะตกและย้อยลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก และทำให้เราดูแก่กว่าวัยนั่นเอง

จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ ทำไฮฟู หรือดึงหน้า?

ในบางครั้งปัญหาเรื่องความหย่อนคล้อยของใบหน้าและลำคออาจไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดดึงผิวหน้าเสมอไป การที่เราเลือกวิธีรักษาความหย่อนคล้อยของใบหน้าและลำคอให้กับสาเหตุ จะทำให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากกว่า แล้วควรเลือกรักษาด้วยการฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ ทำไฮฟู่ หรือผ่าตัดดึงผิวหน้าดี สามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้

1.กรณีที่เกิดจากความไม่สมดุลของการหดเกร็งกล้ามเนื้อกลุ่มดึงขึ้น VS กล้ามเนื้อกลุ่มดึงลง

ในกรณีที่ความหย่อนคล้อยของใบหน้าและลำคอ เกิดจากกล้ามเนื้อกลุ่มดึงลงมีแรงดึงที่มากกว่ากล้ามเนื้อกลุ่มดึงขึ้น สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อกลุ่มดึงลงอัมพาตชั่วคราว หรือคลายตัวชั่วคราว ส่งผลให้กล้ามเนื้อกลุ่มดึงขึ้นทำงานได้ดีกว่า ช่วยให้ใบหน้าดูยกกระชับขึ้น
อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษานี้จะใช้ได้ผลเฉพาะในผู้ที่มีการทำงานของกลุ่มกล้ามเนื้อดึงลงเด่น หรือ Active มาก (Hypertonicity) และผลลัพธ์อยู่ได้นานประมาณ 4-6 เดือน

รูปภาพตัวอย่างกล้ามเนื้อกลุ่มดึงหน้าขึ้นและกล้ามเนื้อกลุ่มดึงหน้าลง

2.กรณีที่เกิดจากโครงกระดูกของใบหน้ายุบตัวลง

ในผู้ที่มีปัญหาความหย่อนคล้อยของใบหน้าจากโครงกระดูกยุบตัวลง สามารถรักษาได้ด้วยการเติมเต็มใบหน้า (Facial Volumization) ให้เต็ม ซึ่งแบ่งเป็น 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่
การเสริมวัสดุทางการแพทย์ (Facial Implant) เช่น Silicone, Gortex, Medpor เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบผลลัพธ์ถาวร อยู่ได้นานตลอดชีวิต
การฉีดฟิลเลอร์ (Filler) โดยนิยมฉีดสารเติมเต็มในกลุ่มไฮยาลูรอนิคแอซิด (Hyaluronic Acid: HA) เพราะสามารถสลายได้เองภายใน 1 – 2 ปี ไม่ตกค้างอยู่ในร่างกาย
การฉีดไขมันตนเอง (Autologous Fat Graft) หรือที่นิยมเรียกกันว่า “การฉีดไขมันหน้าเด็ก” โดยจะนำไขมันจากบริเวณอื่นของร่างกาย เช่น ท้องน้อย ต้นขา มาปั่นแยกเอาเซลล์ไขมันบริสุทธิ์มาฉีดเติมเต็มที่ใบหน้า ซึ่งมีข้อดีคือ ถ้าปลูกถ่ายไขมันติดแล้วจะสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิต

ความแตกต่างระหว่างฟิลเลอร์และการเติมไขมันของตัวเอง

3.กรณีที่เกิดจากเอ็นยึดหน้า (ตะปู) หลวม หย่อนยาน หรือใช้การไม่ได้

ส่วนใหญ่จะเกิดระยะท้าย ๆ ของขบวนการแก่ของใบหน้าดังกล่าวมาแจ้งข้างต้น   เราต้องรีบซ่อมแซมโดยด่วนนะครับ   หมอจะแยกการแก้ปัญหากรณีเอ็นยึดหน้าหย่อนตามระดับความรุนแรงของการหย่อนยาน

3.1.กรณีเอ็นยึดหน้าหย่อนน้อย โดยเฉลี่ยอายุ 30-40 ปี 

สามารถรักษาได้ด้วย 2 วิธีหลัก ๆ คือ

  • การร้อยไหม (Thread Lifting) มีข้อดีคือ ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเซลล์ Fibroblast ที่ไม่มากเกินไป จะช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นใยคอลลาเจนใต้ผิวหนังให้เกิดพังผืดในระดับที่เหมาะสม ช่วยให้เกิดการหดรั้งไปตามแนวของไหม และทำให้ผิวกระชับขึ้นในระดับหนึ่ง
  • การใช้พลังงานต่าง ๆ กระทำต่อเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดการหดรัดตัวเอง และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน อาจเป็นชั้นหนังแท้ (Dermis) หรือเนื้อเยื่อชั้นลึกกว่าอย่าง SMAS ตัวอย่างเช่น Plasma, Radiofrequency Laser หรือ High Intensity Focused Ultrasound (HIFU)

3.2. กรณีที่ความหย่อนยานค่อนข้างมาก โดยเฉลี่ยอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป

ในกรณีที่เอ็น หรือตะปูยึดหน้าคลายตัวมาก สังเกตจากร่องแก้มที่ลึกมาก, มุมปากคว่ำลงชัดเจน, เห็นหมาจูและร่องน้ำหมากชัดเจน การใช้พลังงานต่าง ๆ หรือร้อยไหมอาจไม่ได้ผล (ยกเว้นคนที่ต้องการค้ำยันแค่นั้น) จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดดึงหน้า (Lifting Surgery) เท่านั้น ส่วนจะดึงตรงไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีปัญหาที่ตรงไหน เช่น คิ้ว, ใต้ตา, ใบหน้า, คอด้านหน้า, คอด้านข้าง หรือคอทั้งหมดเป็นต้น
โดยในปัจจุบัน เราจะนิยมดึงเป็นส่วน ๆ มากกว่าที่จะดึงทุกส่วนพร้อมกันทีเดียว เนื่องจากการดึงแต่ละบริเวณของหน้าและคอจะมีทิศการดึง (Lifting Vector) ที่ต่างกัน ซึ่งจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติมากกว่าการดึงไปในทิศทางเดียวกันหมดทั้งหน้า

รูปภาพเทคนิคการดึงหน้า (Face Lift Technique)

เทคนิคการดึงหน้า (Face Lift Technique)

1.การดึงผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังชั้นตื้น (Subcutaneous Face Lifting)

การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ จะลงลึกเพียงชั้นไขมันใต้ผิวหนังเพียงเท่านั้น จึงทำให้ผ่าตัดง่าย และแผลผ่าตัดหายเร็ว แต่ก็มีข้อเสียหลายอย่างตามตารางที่เปรียบเทียบดังนี้นะครับ

ข้อดีของการดึงบริเวณผิวหนังชั้นตื้น

  1. ได้ผลดีในการดึงบริเวณข้างแก้ม หางตา และลำคอ

  2. ใช้เวลาในการผ่าตัดไม่นาน

  3. พักฟื้นเร็ว แผลหายเร็ว

  4. เหมาะสำหรับการผ่าตัดซ้ำ หรืองานแก้ (Revision Face Lift Surgery)

  5. ราคาถูกและประหยัดค่าใช้จ่าย

ข้อเสียการดึงบริเวณผิวหนังชั้นตื้น

  1. เนื่องจากวิธีนี้จะไม่แก้ไขเอ็นยึดใบหน้า (Facial Ligament) ที่อยู่ชั้นลึกลงไป จึงไม่ได้ผลชัดเจนมากนักต่อการดึงร่องแก้ม มุมปาก และหมาจู และไม่ได้ผลในคนที่อ้วนมาก ๆ หรือมีความหย่อนคล้อยค่อนข้างมาก

  2. ผลการผ่าตัดอยู่ได้ไม่นาน เนื่องจากไม่ได้แก้ไขเอ็นยึดหน้า (Facial Ligament) และดึงเนื้อเยื่อชั้น SMAS โดยตรง

  3. เนื่องจากเป็นการดึงเฉพาะผิวชั้นตื้น จึงเกิดตามแนวแรงตึงแผลผ่าตัด (Wound Tension) ค่อนข้างมาก ทำให้เกิดแผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar) หรือคีลอยด์ (Keloid) ได้ง่ายมาก

  4. ผลของการผ่าตัดไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ (Surgery Look)

2.การผ่าตัดดึงผิวหน้าในแนวลึก (Deep Plane Face Lift)

เป็นเทคนิคการผ่าตัดที่แก้ไขปัญหาได้ตรงจุดที่สุด และเห็นผลมากกว่าวิธีแรก เพราะเป็นการดึงที่ผิวหนังชั้น SMAS (Superficial muscular aponeurotic system) ร่วมด้วย

ข้อดีของการดึงในแนวลึก

  1. มีประสิทธิภาพสูงกว่าและอยู่ได้นานกว่าการดึงในแนวตื้น เนื่องจากมีการแก้ไขเอ็นยึดหน้าหรือตะปู (Facial Ligament) โดยตรง ก่อนที่จะดึงผิวหน้าไปตามแนวที่เราต้องการ

  2. แรงตึงตัวของแผลเย็บน้อย (Tension Fee) จึงมีโอกาสเกิดแผลเป็น (Hypertrophic Scar) และคีลอยด์ (Keloid) น้อยกว่าการผ่าตัดเทคนิคแรก

  3. ผลของการผ่าตัดจะดูเป็นธรรมชาติมากกว่า เนื่องจากแพทย์จะดึงเนื้อเยื่อชั้น SMAS ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกกว่าผิวหนังชั้นตื้น

  4. ได้ผลดีกับปัญหาที่แก้ไขยาก เช่น มุมปาก หรือหมาจูข้างแก้ม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีการผ่าตัดดึงผิวหนังชั้นตื้น (Subcutaneous Face Lifting), ทำ RF, ทำ HIFU หรือร้อยไหม (Thread Lifting)

ข้อเสียของการดึงในแนวลึก

  1. การผ่าตัดใช้เวลานานขึ้น ใช้เทคนิคที่ซับซ้อนขึ้น ดังนั้นแพทย์จะต้องมีความชำนาญและความละเอียดมากขึ้น เนื่องจากใต้ผิวหนังชั้น SMAS มีอวัยวะที่สำคัญของใบหน้าหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อชั้นลึก (Deep Facial Muscle), เส้นเลือด (Vessel) หรือเส้นประสาท (Facial Nerve) เป็นต้น
  2. ราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากใช้เวลาในการผ่าตัดนาน จึงทำให้การใช้ยาระงับปวด และเวชภัณฑ์อื่น ๆ มากขึ้นตามไปด้วย

เทคนิคการผ่าตัดดึงหน้าในแนวลึกที่ ดร.กร เอสเทติค คลินิก

ที่ดร.กร เอสเทติค คลินิก เรามีการปรับใช้เทคนิคการผ่าตัดดึงผิวหน้าในแนวลึกที่หลากหลาย ให้เหมาะกับการแก้ปัญหาของคนไข้มากที่สุด เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุด ดังนี้

1.Dual Plane Face Lift (Extend SMAS Technique)

โดยการเลาะเนื้อเยื่อชั้นตื้น (Subcutaneous Flap) และเนื้อเยื่อชั้นลึก (SMAS Flap) แยกกันชัดเจนแล้วดึงเนื้อเยื่อชั้น SMAS ในแนวดิ่งกว่าการดึงผิวหน้า จึงทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาติ

2.Foundation Face Lift

เป็นการดึงชั้น SMAS และผิวหนังพร้อมกัน (Composite Musculocutaneous Flap/Robust Flap) โดยการเลาะในระดับลึกใต้ SMAS ทีเดียว จึงเหมาะกับคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่อการเลาะตื้น ๆ เช่น คนที่สูบบุหรี่ และเคสที่เคยผ่าตัดดึงผิวหน้ามาแล้ว

3.Lateral SMASectomy

มีการตัดเอาเนื้อเยื่อชั้น SMAS ด้านข้างออกบางส่วน จึงมีผลดีสำหรับคนที่หน้ากว้างและหนา   แต่ไม่เหมาะสมกับคนที่ผอมบาง

4.Subperiosteal Face Lift

มีการเลาะลึกถึงใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูก (Subperiosteal Plane) จึงมีประสิทธิภาพสูงในการดึงมาก แต่ต้องการการยึดหลังดึงที่ดีมาก (Rigid Fixation) ด้วยอุปกรณ์เสริมหลายอย่าง เช่น กล้อง (Endoscope), สกรู (Screw & Drill) เหมาะสำหรับการทำบริเวณหน้าผาก, คิ้ว, ใต้ตา, แก้ม และต้องการเสริมวัสดุทางการแพทย์ร่วมด้วย

5.High SMAS Technique

เป็นเทคนิคใหม่ที่หมอกรคิดว่าเป็นวิธีที่ดีมาก และเป็นที่นิยมระดับสากลมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยการเลาะลงไปใต้ชั้น SMAS ในระดับที่สูงขึ้นจนเลยระดับกระดูกโหนกแก้ม เพื่อที่จะดึงบริเวณแก้มใต้ตาและมุมปากให้ได้ผลดีกว่าเทคนิคอื่น ๆ แถมยังยกแก้มส่วนล่างและหมาจู (Jowl) ให้ได้ผลมากขึ้นอีกด้วย

ผลเสียและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัดดึงหน้า

  1. อุบัติเหตุต่อต่อมน้ำลาย (Parotid Injury)
    มักเกิดในการผ่าตัดแบบการเลาะชั้นลึกต่อชั้น SMAS อาจเกิดต่อตัวต่อมน้ำลายเอง หรือท่อของต่อมน้ำลาย
  2. เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (Facial Nerve Injury)
    มีอุบัติการณ์ 3 – 2.6 %
  3. เส้นประสาทรับความรู้สึก (Sensory Nerve)
    โดยเฉพาะที่พบบ่อย คือ เส้นประสาทรับความรู้สึกบริเวณใต้กกหูหรือคอด้านข้างส่วนบนจากเส้นประสาท (Great Auricular Nerve)
  4. ภาวะเลือดออกหรือห้อเลือด
    มักจะเกิดใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด ส่วนใหญ่เป็นระดับไม่รุนแรง (Mild Hematoma ; 2 – 10 ) เกิดขึ้นได้  3 – 8 % ของการผ่าตัด   เกิดขึ้นได้บ่อยในคนไข้ที่มีความเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง (Hypertension) , มีอาการคลื่นใส้ อาเจียนมากหลังผ่าตัด , ไอหรือปวดแผลผ่าตัดในระดับที่รุนแรง   มีข้อสังเกตง่าย ๆ คือ  มีอาการปวดรุนแรงผิดปกติ , บวม , ก้อนห้อเลือด เป็นต้น   และเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
  5. ภาวะน้ำเหลืองคั่ง (Seroma)
    มักจะเกิดหลังผ่าตัด 5 – 7 วัน แพทย์จะรักษาโดยการเจาะดูดออกแล้วพันกดไว้ชั่วคราว (Pressure Dressing)
  6. ภาวการณ์ติดเชื้อ (Infection)
    เกิดน้อยมาก < 1.00 % ถ้าภูมิคุ้มกันอยู่ในภาวะปกติ (Non- Immunocompromised Status)
  7. ผมร่วง (Hair Loss)
    เกิดขึ้นได้ 0.8 % เนื่องจากการใช้จี้ (Electrocautery)   การดึงที่มากเกินไป (Excess Traction) อาจเป็นการร่วงชั่วคราว  4 – 6 เดือนก็ดีขึ้นเอง (Telogen Effluvium)   กรณีที่ผมไม่ขึ้นในระยะเวลาเกิน 12 เดือน   พิจารณาแก้ไปด้วยการปลูกผมถาวร (Hair Transplantation)
  8. แนวไรผมบริเวณหลังหูไม่เรียบ (Stair Stepping Deformity of Postauricular Hairline)
    มักเกิดในกรณีที่ต้องการดึงผิวหนังบริเวณคอ ในกรณีที่คอหย่อนคล้อยมาก
  9. อาจเกิดแผลเป็น (Hypertrophic Scar) หรือ Keloid ได้
    ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ พันธุกรรม (Genetic) , แรงตึงของแผลผ่าตัด (Wound Tension) เป็นต้น
  10. ผิวไม่เรียบ (Surface Irregularity)
    อาจเกิดจากมีเลือดออกเฉพาะที่ น้ำเหลืองคั่งเฉพาะที่   โดยส่วนมักจะหายไปได้เองด้วยการนวดเบา ๆ    แต่ถ้าไม่หายแพทย์ก็จะฉีดสเตียรอยด์เป็นระยะ ๆ จนหาย   ในกรณีที่ไม่เรียบจริง ๆ  อาจพิจารณาปรับให้เรียบด้วยการฉีดฟิลเลอร์หรือฉีดไขมัน (Autologous Fat Graft)
  11. การไหลเวียนของเลือดถูกอุดตัน (Deep Vein Thrombosis (DVT) และ Pulmonary Embolism
    มักจะเกิดขึ้นในการผ่าตัดแบบดมยาสลบ (General Anesthesia) มากกว่าการผ่าตัดแบบใช้ยาเฉพาะที่ (Intravenous Sedation with Local Anesthetic)

สรุปเรื่องการแก้ปัญหาความหย่อนคล้อยของใบหน้าและลำคอด้วยวิธีการดึงหน้า

หมอกรมีคำแนะนำว่าเราจะเลือกวิธีไหนดีก็ขึ้นอยู่กับ

  1. เลือกวิธีที่ตรงกับปัญหาและสาเหตุที่ทำให้เกิดใบหน้าเราหย่อนคล้อย เพื่อให้เกิดผลที่ดีที่สุดและคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายของเรามากที่สุด
  2. ความพร้อมทั้งในแง่เวลา , การดูแลตัวเองทั้งก่อนและหลังการรักษา ตลอดจนกำลังทรัพย์ของตัวเอง
  3. ความคาดหวังของแต่ละคนว่ามากแค่ไหน ยกตัวอย่าง เช่น กรณีที่ใบหน้าหย่อนคล้อยมาก ๆ แต่เลือกใช้วิธีการร้อยไหมหรือ HIFU แต่คาดหวังว่า ใบหน้าต้องตึงเหมือนผ่าตัดดึงหน้า , หมาจู (Jowl) ต้องผาย ฯลฯ   แบบนี้ถือว่า “คาดหวังเกินจริง”
  4. การยอมรับข้อดีข้อเสีย (Pros & Cons) ของแต่ละวิธีได้
  5. บางคนต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน เนื่องจากมีปัญหาหลายจุด   คุณหมอจะวางแผนร่วมกันกับคนไข้ว่า ควรจะเริ่มด้วยวิธีไหนก่อน – หลัง   เพื่อให้เกิดผลที่ดีที่สุดครับ ยกตัวอย่างเช่น หลังจากดึงหน้า ดึงคอให้ตึงแล้ว   บางคนใบหน้าตอบ ขมับตอบ แก้มตอบด้วย   อาจพิจารณาเติมไขมันให้ใบหน้าดูอิ่มมีน้ำมีนวลขึ้น   มีมิติให้แลดูสดใสขึ้น เป็นต้น
  6. สุดท้าย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหาหน้าและคอหย่อนคล้อย เนื่องจากคนเรามีเป้าหมายที่แตกต่างกัน   ไม่จำเป็นต้องทำเหมือนกันครับ   ในคนที่ต้องการแก้ไขให้เห็นผลชัด ๆ  หมอก็จะแนะนำให้พิจารณาตามข้อ 1 – 5    แต่เนื่องจากเราหยุดสังขารตัวเราไม่ได้   บางคนแค่ต้องการให้ดีขึ้นบ้างและป้องกันไม่ให้หย่อนคล้อยเร็วเกินไป (ค้ำยัน)   ลองทำตามคำแนะนำง่าย ๆ ของหมอกรดูนะครับ
    • ดูแลสุขภาพโดยรวมของเราให้ดี ทานอาหารดี  ออกกำลังกาย  ไม่เครียดเกินไป   หลีกเลี่ยงสารพิษต่าง ๆ โดยเฉพาะบุหรี่   พักผ่อนให้เพียงพอ   ความแก่ก็จะมาเยือนน้อยลง
    • ไม่ควรนอนคว่ำหรือนอนตะแคง เนื่องจากใบหน้ามีแนวโน้มหย่อนคล้อยไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก   สำหรับคนที่ไม่กลัวอึดอัด   อาจพิจารณาใช้ผ้ารัดหน้า (Facial Garment) ที่มีขนาดพอเหมาะ  รัดหน้าเอาไว้เท่าที่เราจะทำได้
    • ในกรณีที่มีเวลา อาจจะหาโอกาสค้ำยันใบหน้าและลำคอตัวเอง คือ กระตุ้นให้เอ็นหรือตะปูยึดใบหน้า (Facial Ligament) ของเราให้ตึงกระชับเป็นระยะ   แต่ต้องทำสม่ำเสมอนะครับ จึงจะเห็นผล อาทิเช่น
      • การนวดหน้า (Face Massage)
      • การใช้พลังงานรูปแบบต่าง ๆ เช่น
        • High Intensity Focus Ultrasound (HIFU)
        • Radio – Frequency (RF)
        • Laser
        • Electroporation
        • Plasma

อีกอย่างที่หมอกรจะฝากไว้ คือ ระวังไม่ให้เราอ้วนเกินไป   เพราะไขมันจะสะสมชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat) ทุกส่วนของร่างกาย   ถ้าไขมันสะสมมากขึ้นที่ใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณหมาจู (Jowl) หรือใต้คาง , เหนียง  ก็จะยิ่งถ่วงใบหน้าและคอให้หย่อนคล้อยลงมามากขึ้น

รวมรีวิวดึงหน้า ดึงหน้าผาก ดึงคอ ที่ดร.กร เอสเทติค คลินิก

มีคำถามเกี่ยวกับการผ่าตัดดึงหน้าอยู่ใช่ไหม?

สำหรับใครที่มีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับที่ปรึกษาด้านความงามของดร.กร เอสเทติค คลินิก ได้ที่ไลน์ @dr.gornaesthetique มีแพทย์ช่วยประเมินออนไลน์ได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย! พร้อมให้บริการทั้ง 3 สาขา ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร น่าน หรือพิษณุโลก ดูแลโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าโดยตรงที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี

ดร.กร คลินิก พร้อมให้บริการทั้ง 4 สาขา

สาขากรุงเทพ

ที่ตั้งสาขา

เลขที่ 51/1   ซอยรามอินทรา 109
ถนนพระยาสุเรนทร์   แขวงมีนบุรี   เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร  10510                                            โทร. 089 130 5448 »

ดูแผนที่ใน Google Map »

วัน/เวลาให้บริการ

สาขาน่านนคร

ที่ตั้งสาขา

เลขที่ 242/6 (ข่วงฮังต่อ ชั้น 2)   ถนนมหายศ
ต.ในเวียง   อ.เมืองน่าน   จ.น่าน   55000                        โทร. 065 264 5964 »

ดูแผนที่ใน Google Map »

วัน/เวลาให้บริการ

สาขาพิษณุโลก

ที่ตั้งสาขา

เลขที่ 49/88 ถนนชาญเวชกิจ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง พิษณุโลก 65000
โทร. 061 272 4665 หรือ 061 274 1865

ดูใน Google Map »

วัน/เวลาให้บริการ

สาขาอุตรดิตถ์

ที่ตั้งสาขา

236/8 ถนนบรมอาสน์ ต.ท่าอิฐ อ.เมืองอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์ 53000                                                        โทร. 081 747 8949

ดูแผนที่ใน Google Map »

วัน/เวลาให้บริการ