ปัจจัยที่ทำให้เกิดเหนียงและคาง 2 ชั้น
- ไขมันบริเวณใต้คาง (Submental Fat)
ปริมาณสะสมมากไป ปกติมีอยู่ 2 ชั้น คือ- ชั้นที่ 1
ไขมันชั้นใต้ผิวหนังหรือไขมันที่วางอยู่เหนือกล้ามเนื้อ Platysma ของคอ (Subcutaneous or Preplatysmal Fat) ปริมาณมักจะเปลี่ยนแปลงตามความอ้วนของร่างกายและพฤติกรรมของการรับประทานอาหาร - ชั้นที่ 2
ไขมันชั้นลึก คือ ไขมันที่วางอยู่ลึกต่อชั้นกล้ามเนื้อ Platysma ของคอ (Subplatysmal Fat)
- ชั้นที่ 1
- ความหย่อนคล้อยของผิวหนังบริเวณใต้คาง
จากขนาดของกระดูกกราม (Mandible) เล็กลงและเส้นเอ็นหรือตะปูยึดหน้า (Facial Ligament) บริเวณแนวกรามหย่อนยาน - การหดตัวเกร็งและขยายขนาดของกล้ามเนื้อ Platysma (Muscle Accentuation / Platysmal Banding)
- คางร่นและเล็กลง (Retrognathia)
ซึ่งอาจเป็นตั้งแต่กำเนิด (Congenital) หรือเป็นมาภายหลัง (Acquired) เช่น จากอายุที่มากขึ้น , ภาวะกระดูกผุกร่อน (Osteoporosis) และอุบัติเหตุ เป็นต้น - ตำแหน่งของกระดูกที่ผิดปกติ (Hyoid Bone)
ตำแหน่งของกระดูกไฮออยที่ค่อนข้างมาทางด้านหน้า (Anteriority) และลงมาต่ำ (Inferiority) กว่าปกติ จะทำให้มุมระหว่างคางและคอป้านมากขึ้น (คือ มากกว่า 120°) (Obtused Cervicomental Angle) ส่งผลให้เกิดเหนียงและคาง 2 ชั้นได้ง่ายขึ้น
ปกติตำแหน่งของกระดูก Hyoid ที่เหมาะสมจะวางอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างสูง (Superiority) และค่อนข้างไปทางด้านหลัง (Posteriority) ของลำคอ และวางอยู่ในระดับเดียวกันกับกระดูกสันหลังบริเวณคออันที่ 4 (C4 Level) จึงทำให้มุมระหว่างคางและคอตั้งฉากกันมากขึ้น ส่งผลให้ขอบระหว่างคางและคอคมชัดขึ้น (Defined Jawline Definition) , แลดูอ่อนวัย และเกิดเหนียงได้ยากขึ้น
การกำจัดเหนียงและคาง 2 ชั้น ทำได้อย่างไรบ้าง ?
บางคนโชคดีอาจมีสาเหตุเพียงหนึ่งอย่าง การแก้ไขก็ทำเพียงหนึ่งอย่างแล้วจบ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่บางคนอาจโชคร้ายนิดหนึ่ง มีปัจจัยที่ทำให้เกิดเหนียงหลายอย่าง ต้องแก้ไขหลายวิธีจึงจะเห็นผลชัดเจน
1.กรณีที่เกิดจากปริมาณไขมันสะสมมาก (Fat Accumulation)
- ไขมันชั้นตื้น (Subcutaneous Fat)
ใช้วิธีการดูดไขมัน (Neck Liposuction / Liposculpture) หรือวิธีฉีดสลายไขมัน (Lipolytic Cocktail) ตามการประเมินของแพทย์ จะให้วิธีไหนที่เหมาะสมและความพร้อมของแต่ละคน - ไขมันชั้นลึก (Subplatysmal Fat)
ไม่สามารถใช้วิธีดูดและฉีดสลายได้ แพทย์จะเอาออกได้ 2 วิธี คือ- ตัดออกโดยตรงผ่านแผลใต้คาง (Submental Incision) พร้อมกันในกรณีผ่าตัดเสริมคาง (Mentoplasty) ผ่านแผลเดียวกัน
- ตัดออกโดยตรงผ่านแผลเวลาผ่าตัดดึงคอ (Neck Lift Surgery)
2.กรณีที่เกิดจากผิวหนังหย่อนคล้อย (Skin Laxity)
มีวิธีการแก้ไขหลายวิธี โดยเราพิจารณาตามดีกรีของการหย่อนยานว่ามีมากแค่ไหน (Severity of Laxity) เช่น ร้อยไหม , HIFU , RF , ผ่าตัดดึงคอ (Neck Lifting Surgery) ซึ่งปัจจุบันมีการผ่าตัดหลายเทคนิค หลายแบบ และบางครั้งแพทย์จะผ่าตัดดึงคอร่วมกับการผ่าตัดดึงหน้า (Face Lift Surgery) ในคราวเดียวกัน โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล
3.กรณีที่เกิดจากกล้ามเนื้อหดตัวเกร็ง
การฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ สามารถช่วยลดปัญหานี้ได้ และเห็นผลชัดในกรณีการหดตัวเกร็งของกล้ามเนื้อในแนวตั้ง (Vertical Platysmal Banding)
4.กรณีที่เกิดจากคางเล็ก
อาจต้องพิจารณาเสริมคาง (Chin Augmentation) หรือผ่าตัดโดยการผ่าตัดเลื่อนคาง โดยไม่ต้องเสริม (Sliding Genioplasty) เพื่อลดปัญหาเหนียงและคาง 2 ชั้นได้อย่างสมบูรณ์
5.กรณีที่เกิดจากตำแหน่งของกระดูก Hyoid ผิดปกติ (Abnormal Hyoid Position)
ปัญหานี้ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การแก้ไขเหนียงที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้ผล ขณะเดียวกันเทคนิคบางอย่าง อาจทำให้ดูแย่ลง เช่น การดูดไขมัน การแก้ปัญหานี้โดยตรงทำได้ยากมาก โดยเฉพาะวิธีการผ่าตัดย้ายตำแหน่งของกระดูก Hyoid
ดังนั้น การแก้ปัญหาในกรณีนี้ ต้องพิจารณาใช้เทคนิคหลาย ๆ อย่างร่วมกันจึงจะเห็นผลชัดเจน
ใครอยากจะแก้ไขปัญหาคาง 2 ชั้นและกำจัดเหนียงควรปรึกษาแพทย์นะครับ แพทย์จะได้ประเมินว่า ปัญหาของเราเกิดจากอะไรบ้าง จะได้เลือกใช้วิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด บางท่านอาจต้องใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกันจึงจะได้ผลดั่งใจหวัง และไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ (Smart Spender) นะครับ
นพ.สุวิน สมเงิน
แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า
Facial Design & Facial Plastic Surgeon