หน้าผากย่น คิ้วตก แนวไรผมร่น หางตาตก มักจะมาพร้อม ๆ กันเสมอ เป็นการเปลี่ยนแปลงของใบหน้าส่วนบน (Upper Face) ที่บ่งบอกถึงสังขารที่ร่วงโรยจากอายุที่มากขึ้นอย่างหนึ่ง (Aging Face) การผ่าตัดดึงคิ้ว(Brow Lift) จึงทำให้เราแลดูอ่อนวัยขึ้นและยังช่วยยกหนังส่วนเกินของหนังตาบนขึ้น (Lateral Hooding) ทำให้เรามองเห็นตา 2 ชั้นอย่างเป็นธรรมชาติ
เวลาหัวคิ้วตก (Medial Brow Ptosis)
จะทำให้เราแลดูเหมือนคนกำลังโกรธ ไม่พอใจใครอยู่หรือดุใครอยู่ ทั้ง ๆ ที่อุปนิสัยใจคอเราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น
เวลาหางคิ้วตก (Lateral Brow Ptosis or Lateral Hooding)
ส่วนใหญ่หางคิ้วมักตกลงเร็วกว่าหัวคิ้ว
- ทำให้แลดูเป็นคนเศร้าหมอง เหนื่อยล้า ไม่มีพลังในชีวิต (Sad Looking)
- ทำให้หนังตาบนตกลงมาตามคิ้วจนปิดบังชั้นตาจนมองไม่เห็นตา 2 ชั้นเดิม (Loss Double Fold) หรือ
ถ้าคิ้วตกไม่เท่ากันก็จะทำให้ชั้นตา 2 ข้างไม่เท่ากันด้วย (Asymmetric Double Fold) - ถ้าตกลงมามาก ๆ บางครั้งก็บังลานตาทำให้มีอุปสรรคต่อการมองเห็น (Visual Field Defect)
คิ้วตกยังทำให้เกิดอาการปวดศีรษะบ่อย ๆ ได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าผากคอยหดตัวเกรงเพื่อดึงคิ้วไว้ตลอดเวลา ระยะยาวส่งผลให้เกิดรอยย่นร่องลึกหน้าผากแนวขวางได้ (Deep Static Horizontal Forehead Furrow) แต่ตำแหน่งและรูปทรงของคิ้ว ทำให้การป้องกันและการแก้ไขคิ้วตกจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของแต่ละคนในสังคมมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของคิ้วที่ตกลงมา (Severity of Brow Ptosis) ความเชื่อในเรื่องของโหงวเฮ้งและผลกระทบของภาวะคิ้วตกที่มีผลในแต่ละคน ผู้หญิงที่คิ้วตกลงมามาก (Loss of Femininity) หรือ ผู้หญิงที่มีคิ้วเตี้ยก็จะแลดูเป็นผู้ชายมากขึ้น ลุคที่ดูอ่อนหวานก็จะหายไป
กายวิภาคของคิ้ว (Anatomy of Eyebrow)
ก่อนอื่น เรามารู้จักกันก่อนนะครับว่า
- คิ้วตรงไหนที่มองว่าสวยและแลดูอ่อนวัย
- คิ้วผู้ชายและผู้หญิงต่างกันอย่างไร
- อะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อตำแหน่งของคิ้วของเรา
เราจะได้ดูแลและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมอย่างไรละครับ
คิ้วปกติในผู้ชายและผู้หญิงจะต่างกันอย่างไร ?
ก่อนอื่น เรามารู้จักกันก่อนนะครับว่า
- คิ้วตรงไหนที่มองว่าสวยและแลดูอ่อนวัย
- คิ้วผู้ชายและผู้หญิงต่างกันอย่างไร
- อะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อตำแหน่งของคิ้วของเรา
เราจะได้ดูแลและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมอย่างไรละครับ
ผู้ชาย
คิ้วจะวางในแนวนอน ไม่โก่ง และอยู่ในระดับแนวเดียวกันกับแนวกระดูกขอบบนของเบ้าตา(Superior Orbital Rim) ขนาดของคิ้ว(ความเข้มคิ้ว) มักจะไกล้เคียงกันตลอดแนว
ผู้หญิง
ส่วนใหญ่จะวางเป็นรูปโค้งเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามสมัยนิยมและวางอยู่ในแนวที่เหนือจากขอบของเบ้าตาด้านบน ส่วนขนาดของคิ้วมักจะใหญ่ด้านหัวคิ้ว(Medial Eyebrow)แล้วจะเรียวเล็กลงทางด้านหางคิ้ว (Lateral Eyebrow) จุดสูงสุดของคิ้ว มักจะอยู่ในแนวต่อระหว่าง 2/3 ของคิ้วด้านในกับ 1/3 ของคิ้วด้านนอก
ขนาดและสัดส่วนของคิ้วในผู้หญิงถ้าเทียบกับตา เบ้าตาและชั้นตา
- หัวคิ้ว จะอยู่ในตำแหน่งเตี้ยกว่าหางคิ้วเล็กน้อย
- หัวคิ้ว จะอยู่ในแนวตรงกับหัวตา(Medial Canthus)
- หางคิ้ว จะเรียวเล็กลงและสิ้นสุดบริเวณแนวเดียวกันกับเบ้าตาด้านข้าง (Lateral Orbital Rim)
ระยะจากขอบล่างของคิ้วลงมาชั้นตา (Eyelid) มีสัดส่วนเป็น 2 ใน 3 ของระยะจากขอบล่างของคิ้วลงมาถึงขอบตาบน และระยะของชั้นตาที่เราเห็นลงมาถึงขอบของตาบน มีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 (Eyelid)
ปัจจัยที่มีผลและควบคุมตำแหน่งคิ้วของคนเรา (Eyebrow Position Controlling Factor)
กล้ามเนื้อบริเวณหน้าผาก (Frontalis Muscle)
มี 2 มัด ๆ ละฝั่ง ทำหน้าที่ดึงคิ้วขึ้น (Brow Elevation) และควบคุมแนวไรผม (Hairline Control) จะดึงคิ้วมากขึ้นเวลาเราเลิกคิ้ว , ตกใจหรือหนังตาบนมีปัญหา (กล้ามเนื้อยกหนังตาทำงานได้น้อยลง (Blepharoptosis) ถ้าปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขหรือทำพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จนกลายเป็นนิสัย จะทำให้เกิดริ้วรอยย่นแนวขวางบริเวณหน้าผาก (Horizontal Forehead Line)
กล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตา (Periocular Muscles)
ด้านหัวคิ้ว จะมีกล้ามเนื้อ 4 มัด คือ
- Corrugator Supercilii
- Depressor Supercilii
- Orbicularis Oculi (Medial Part)
- Procerus
กล้ามเนื้อทั้งหมด 4 มัดนี้ บางครั้งเราเรียกว่า “ Glabella Complexs ” เนื่องจากตำแหน่งอยู่บริเวณระหว่างคิ้ว เวลากล้ามเนื้อเหล่านี้ หดตัวเกร็ง เช่น เวลาเราเครียด , ขี้สงสัย , จ้องหรือเพ่งสายตา เวลามันหดตัวเกรง ก็จะดึงหัวคิ้วลงมาต่ำ เหมือนหัวคิ้วตกลงมาทำให้แลดูเครียด ดุและเหมือนกำลังคิดมากอยู่
ด้านหางคิ้ว จะมีกล้ามเนื้อ Orbicularis Oculi ส่วน Lateral Part เวลามีการหดตัว (เวลาเราเครียด , จ้องหรือเพ่งสายตา , หัวเราะหรือยิ้ม) มันจะดึงให้หางคิ้วตกลงมา
ความโหนกนูนของกระดูกขอบตาด้านบน (Superior Orbital Rim)
ซึ่งทำหน้าที่เหมือนฐานรองรับคิ้ว ปกติด้านข้างหรือหางคิ้วกระดูกจะแบนราบกว่าหัวคิ้ว ดังนั้นหางคิ้วจึงตกลงเร็วกว่าหัวคิ้ว ในกรณีที่เราอายุมากขึ้น จะมีการกร่อนของกระดูก(Osteoporosis) บริเวณฐานรองคิ้วก็จะแบนราบขึ้นลง จึงส่งเสริมให้คิ้วตกลงมาเร็วขึ้น
ตัวยึดหรือ Facial Ligament
ซึ่งทำหน้าที่ยึดคิ้วกับผิวหนังด้านบน , ผิวหนังบริเวณขมับ (Temporal Area) , ผิวหนังบริเวณหน้าผาก (Frontal Area) ให้ติดแน่นกับเนื้อเยื่อชั้นลึกลงไปจนถึงเยื่อหุ้มกระดูก ถ้าหากมีการหย่อนยาน (Loosing) ของตัวยึด (Facial ligament) เหล่านี้จากอายุที่มากขึ้น ก็จะทำให้คิ้วตกลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Force)
การป้องกันไม่ให้คิ้วตกหรือตกช้าที่สุด
ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่สามารถป้องกันคิ้วตกได้ 100 % เนื่องจากเราไม่สามารถห้ามไม่ได้เกิดความเสื่อมของสังขารตามอายุ ตัวยึดคิ้ว(Facial Ligament) และกระดูกฐานรองคิ้ว(Eye Bone)ได้ แต่เราพอที่จะชะลอหรือป้องกันไม่ให้คิ้วของเราตกเร็วเกินไปได้ ดังนี้
- ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่เครียดบ่อยหรือนานจนเกินไป หาเวลาพักผ่อนบ้าง เนื่องจากถ้าเราเครียดมากจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตาหดเกร็งบ่อยและนานเกินไป ซึ่งจะดึงคิ้วให้ต่ำลงมา(Brow Ptosis) แถมยังทำให้เกิดริ้วรอย ร่องลึกมากขึ้นด้วย เช่น บริเวณหน้าผาก , ตีนกาและรอยขมวดคิ้ว เป็นต้น
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นประจำ
- พักผ่อนให้เพียงพอต่อการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- ฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ เพื่อทำให้กล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตา(Periocular Muscle) ผ่อนคลาย ไม่เกร็งตัวมากเกินไปอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง แต่อาจระวังและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอก่อนพิจารณาฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ สำหรับลดริ้วรอยบริเวณหน้าผาก (Horizontal Forehead Line) โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาคิ้วต่ำหรือคิ้วตกอยู่แล้ว(Brow Ptosis) และคนที่มีปัญหาภาวะกล้ามเนื้อยกหนังตาบนอ่อนแรง (Blepharoptosis) เพราะการฉีดสารคลายกล้ามเนื้อบริเวณหน้าผากอาจทำให้แนวไรผมร่นขึ้นและดูหัวเถิกและคิ้วตกลงมาต่ำกว่าเดิมมากขึ้น ส่วนคนที่มีภาวะกล้ามเนื้อยกหนังตาบนอ่อนแรง การฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ ก็อาจจะทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม
การแก้ไขคิ้วตกทำอย่างไร ?
ควรศึกษาและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจ เนื่องจากแต่ละวิธี แต่ละเทคนิคของการดึงคิ้ว(Brow Lift) จะมีความเหมาะสมกับความรุนแรงของคิ้วที่ตกลง โครงสร้าง รูปทรงของคิ้วและสภาวะของหนังตาบนในแต่ละบุคคล และที่สำคัญแต่ละเทคนิค แต่ละวิธีก็จะมีข้อดี / ข้อเสียที่แตกต่างกันไป (Pros and Cons) อยู่ที่แต่ละคนจะยอมรับข้อดี ข้อเสียดังกล่าวได้หรือไม่
- ในกรณีที่มีอายุน้อย หรือ คิ้วตกไม่มาก(Mild Brow Ptosis)
ทางเลือกที่ง่ายแต่อาจได้ผลน้อยและผลการรักษาอยู่ได้ไม่นาน เช่น- ฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ ในกรณีนี้ อาจจะยกคิ้วได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร และจะอยู่ได้นานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เทคนิคการฉีด , ปริมาณ Dose (Unit) ที่ใช้ เป็นต้น
- ร้อยไหม จากประสบการณ์ ไม่ค่อยได้ผลและอยู่ไม่นาน
- เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น HIFU , Laser , RF เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้การการหดตัวของเนื้อเยื่อคอลลาเจนใต้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ(Facial Ligament) ชั้นที่ลึกกว่านั้น ผลจากการรักษาก็จะเห็นผลไม่มาก ต้องทำซ้ำ ๆ และมีความเสี่ยงในการทำบริเวณที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 บางแขนงวิ่งผ่าน (Frontal Branch of Facial Nerve) โดยเฉพาะคนที่ผิวหนังบริเวณขมับและหน้าผากบางมาก ๆ
- ในกรณีที่มีอายุมาก หรือคิ้วตกมาก
การผ่าตัดยกคิ้ว (Forehead Brow Lift Surgery) มีหลายเทคนิคและหลายวิธีมาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น- รอยย่นบริเวณหน้าผาก (Fore Skin Redundancy) มีมากน้อยแค่ไหน
- รูปทรงของหน้าผาก (Frontal Bone Shape)
- ความสูงของแนวไรผม (แนวผมเถิก) (Hairline Position)
- ภาวะคิ้วสูงหรือต่ำไม่เท่ากัน (Asymmetric Brow Position)
- ความต้องการในเรื่องของการทนทานว่า จะอยู่ได้นานแค่ไหน
- ประวัติและวิธีการผ่าตัดตา 2 ชั้นหรือการผ่าตัดหนังตาบนหรือตาล่างมาก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร
- การสักคิ้วที่ทำมาแล้ว สักแบบไหนมาและสักเผื่อยกคิ้วมาแล้วหรือเปล่