ถ้าหากเปรียบเทียบเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ทั้ง Noninvasive และ Invasive Procedures ในการดึงหน้า (Face Lift) ทั้งผู้ชายและผู้หญิง การผ่าตัดดึงหน้าแบบชั้นลึก (Deep Plane Facelift Surgery) เป็นที่ยอมรับว่าได้ผลดีที่สุด ในแง่ของประสิทธิภาพ (Effectiveness) และความคงทน (Long Lasting) ของการดึงหน้าที่เคยมีการผ่าตัดมาทั้งหมด
ปัจจุบันความนิยมในการผ่าตัดดึงหน้าในผู้ชาย (Male Facelift Surgery) ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ชายหันมาดูแลตัวเองและให้ความสำคัญกับเรื่องภาพลักษณะมากขึ้น และการผ่าตัดดึงหน้าก็มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดให้ได้ผลดีมากขึ้น (Effectiveness) ระยะเวลาในการพักฟื้นสั้นลง (Shorten Recovery Time) และภาวะแทรกซ้อนลดน้อยลง (Less Complication Rates)
แต่อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดดึงหน้าในผู้ชาย (Male Facelift Surgery) ก็มีหลักการบางอย่างที่แตกต่างไปจากการผ่าตัดดึงหน้าในผู้หญิง (Female Facelift Surgery) ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะทางกายวิภาค (Anatomic Structure) ของผู้ชายมีลักษณะที่เฉพาะ และความนิยม ความชื่นชอบของรูปหน้าก็เป็นแบบเฉพาะของผู้ชาย ซึ่งแตกต่างกันอย่างมากจากผู้หญิง
ลักษณะความแตกต่างระหว่าง “ผู้ชาย” และ “ผู้หญิง” อาทิเช่น
- ผู้ชายจะมีความหนาของผิวหนังมากกว่าผู้หญิง (More Skin Thickness)
- ผู้ชายทรงคิ้วจะหนากว่า (More Thickness, More Hair Density) หัวคิ้วและหางคิ้วจะอยู่ในระดับต่างกันเล็กน้อย หรืออยู่ในระดับเดียวกัน (Flatt Pattern Eyebrow) ไม่ได้มีทรงที่โค้ง งอมากเท่ากับผู้หญิง
- ผู้ชายมีระบบไหลเวียนเลือด (Skin Vascularity) ที่ไหลเวียนดีกว่าผู้หญิง ทำให้มีแนวโน้มว่าผู้ชายอาจมีภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง อาจจะเกิดภาวะเลือดออกในระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด (Bleeding/Hematoma) ได้สูงกว่า
- ผู้ชายมีแนวไรผม (Hair Line Pattern) ไม่เหมือนกับผู้หญิง ความหนาแน่นของเส้นผมบริเวณจอน (Temporal Tuft) จะมากกว่า และความนิยมเรื่องของ Facial Hair Pattern ของผู้ชายก็แตกต่างจากผู้หญิง
- ผู้ชายกระดูกโหนกแก้ม (Malar Eminence) ก็จะโหนกนูนน้อยกว่าผู้หญิง
- ผู้ชายแนวโน้มมีร่องแก้มลึกกว่า (Deeper Nasolabial Fold) และมีการย้อยของไขมันบริเวณแก้ม (Jowl Fat) ที่เห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
- ผู้ชายมีบริเวณส่วนกลางของใบหน้าแลดูตอบกว่าผู้หญิง (Central Facial Fat Hypertrophy)
- ผู้ชายแนวโน้มจะมีกระบวนการแก่บริเวณแก้มส่วนล่าง และลำคอได้ง่าย แล้วยังเห็นชัดกว่าผู้หญิง (Prominent Lower Face & Neck Aging Process) เช่น ความหย่อนคล้อย (Skin laxity) เส้นลำคอแนวตั้ง (Cervical Platysma Banding) เป็นต้น
- ประเด็นสุดท้ายที่ผู้ชายส่วนใหญ่กังวลคือ กลัวผลของการผ่าตัดจะออกมาไม่เป็นธรรมชาติ (Nunatural Looking) และหลังผ่าตัดโครงหน้าออกมาคล้ายผู้หญิง (Feminine looking)
ดังนั้นการเตรียมตัวก่อนดึงหน้า , แนวแผลผ่าตัดดึงหน้า, เทคนิคการผ่าตัดดึงหน้า, ประสิทธิผลของการผ่าตัดดึงหน้า และนอกจากการดึงหน้าอย่างเดียวมีแนวโน้มที่จะต้องทำหัตถการอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ผลของการผ่าตัด (Additional/Ancillary Procedures) ดูดีขึ้นกว่าเดิม วันนี้เราจะมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง ที่จะทำให้การผ่าตัดดึงหน้านั้นจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และยังคงลักษณะโดยธรรมชาติของความเป็นผู้ชายไว้ (Masculine Appearance)
หลักการที่แตกต่างจากการผ่าตัดดึงหน้าในผู้หญิง ดังนี้
- การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดดึงหน้า : ต้องให้ความใส่ใจและเน้นเรื่องการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้ชายมี Skin Vascularity ดีกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป จะมีภาวะความดันโลหิตสูง และอาจมีโรคหัวใจร่วมด้วย จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น เลือดออกง่าย ทั้งระหว่างผ่าตัดและหลังการผ่าตัด ดังนั้นการตรวจร่างกายและการประเมินความเสี่ยงก่อนผ่าตัด โดยวิสัญญีแพทย์ จึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด
- วิธีการลดความเจ็บปวดและระงับความรู้สึกระหว่างการผ่าตัดดึงหน้า แพทย์จะลดการใช้ Inhalation Anesthesia (ยาดมสลบไอระเหย) เนื่องจากมีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดขยายตัว (Vasodilatation) ออกฤทธิ์ระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย แต่อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้
- แนวการเปิดแผลผ่าตัดดึงหน้า
- ผ่าตัดดึงหน้า บริเวณขมับ : จะขึ้นอยู่กับระยะห่างของแนวไรผมบริเวณขมับ (Anterior Temporal Hairline) กับขอบของกระดูกเบ้าตาด้านข้าง (Lateral Orbital Rim) ว่าห่างกันแค่ไหน ถ้าระยะดังกล่าวกว้างมากเกินไป (มากกว่า 5 เซนติเมตร) แพทย์จะพิจารณาลงแนวแผลผ่าตัดตามไรผม เพื่อป้องกันไม่ให้ใบหน้าของคนไข้กว้างเกินไป แต่ในกรณีที่แคบอยู่แล้ว (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 เซนติเมตร) ก็จะพิจารณาลงแผลผ่าตัดโดยหลบแผลในบริเวณขมับ
-
- ผ่าตัดดึงหน้า บริเวณหน้าใบหู : แนวโน้มจะลงแผลตามแนวร่องผิวหนังเดิมของคนไข้ คือ Pretragal หรือ Intertragal Incision ทั้งนี้ เพื่อป้องกัน
- เพื่อป้องกันสีของผิวหนังบริเวณแก้ม และบริเวณหน้าใบหูต่างกันมาก (Cheek and Tragal skin color mismatching) ทำให้สีผิวหลังผ่าตัดดึงหน้า แลดูไม่เป็นธรรมชาติ (Surgical Looking)
- เพื่อป้องกันผมบริเวณจอนเดิมของคนไข้ (Temporal Hair tuft) เลื่อนเข้าไปในรูหู การเปิดแผลบริเวณหน้าหูจะสามารถรักษาแนวจอนผมเดิมของคนไข้ไว้ ไม่ถูกดึงไปตามแนวการผ่าตัดดึงหน้า
- ผ่าตัดดึงหน้า บริเวณหน้าใบหู : แนวโน้มจะลงแผลตามแนวร่องผิวหนังเดิมของคนไข้ คือ Pretragal หรือ Intertragal Incision ทั้งนี้ เพื่อป้องกัน
4. การเลาะชั้นผิวหนัง (Skin Flap Elevation) เพื่อผ่าตัดดึงหน้า ก็จะเลาะมากกว่าและไกลกว่าผู้หญิง จึงจะได้ผลดี (More Extensive Skin Flap Dissection) เนื่องจากผิวหนังของผู้ชายมีความหนากว่า แพทย์มีความจำเป็นที่จะต้องเลาะด้วยความระมัดระวัง เพื่อลดการบาดเจ็บต่อรากผม (Hair follicle) พยายามให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด เพราะผู้ชายมีความกังวลเรื่องผมร่วง มีความใส่ใจอย่างมากต่อแนวไรผมและ Pattern ของผมบริเวณใบหน้าและศีรษะของตัวเองมาก
5. ในขณะที่มีการเลาะเนื้อเยื่อ เพื่อผ่าตัดดึงหน้าชั้นลึก (Deep Plane/SMAS Dissection) มีความจำเป็นต้องเลาะเอ็นยึดหน้า (Facial Ligament) บางจุดให้สมบูรณ์กว่าผู้หญิง แพทย์จะพิจารณาเลาะเอ็น Nasomaxillary Ligament บริเวณร่องแก้ม เพื่อแก้ปัญหาร่องลึกและ Mandibular ligament บริเวณร่องน้ำหมาก เพื่อแก้ปัญหาแก้มส่วนล่างย้อย (Jowl) ต้องเลาะดึงทั้ง 2 จุดด้วยเสมอ ดังนั้นแผลผ่าตัดอาจถูกรบกวนมากขึ้น การหายของแผลจึงหายช้าและยุบบวมช้ากว่าผู้หญิง
6. ส่วนแนวการผ่าตัดดึงหน้าชั้น SMAS เพื่อให้ได้รูปหน้าที่เป็นธรรมชาติจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผ่าตัด และโครงหน้าเดิมของคนไข้ว่าเป็นแบบไหน ใบหน้ากว้างขนาดไหน หรือใบหน้ายาวขนาดไหน เป็นต้น
7. การผ่าตัดดึงหน้า อาจพิจารณาผ่าตัดดึงคอร่วมด้วย เนื่องจากผู้ชายมีแนวโน้มว่าจะมีกระบวนการแก่บริเวณคอค่อนข้างมากกว่าผู้หญิง (Neck Aging Process) จึงพิจารณาผ่าตัดดึงคอร่วมด้วยเสมอ เพื่อให้ผลลัพธ์ทั้งหมดหลังผ่าตัดนั้นเป็นธรรมชาติมากขึ้น
8. การผ่าตัดดึงหน้า อาจพิจารณาเติมไขมัน (Fat Graft) บริเวณหน้าแก้มและร่องแก้มร่วมด้วย เนื่องจากผู้ชายมีปัญหาร่องแก้มลึก และมีหมาจูได้ง่ายกว่าผู้หญิง ไขมันบริเวณใต้ตาและหน้าแก้มฝ่อตัวมากกว่าผู้หญิง (Fat Atrophy) เพื่อให้ได้ผลที่ดีขึ้น แพทย์จึงอาจจะพิจารณาเติมไขมัน (Fat Graft) บริเวณหน้าแก้มและร่องแก้มด้วยเสมอ
9. การดูแลหลังผ่าตัดและระยะเวลาพักฟื้น สำหรับการผ่าตัดดึงหน้า ระยะเวลาการพักฟื้น อาจจะนานกว่าผู้หญิง มีการฟื้นตัวช้ากว่า เนื่องจากมีความหนาของผิวหนังมากกว่า การผ่าตัดต้องเลาะมากกว่าและทำให้สมบูรณ์กว่า โดยเฉพาะเคสที่มีผิวมัน (Thick Oily Skin) แผลผ่าตัดยิ่งจะบวมนาน และหายช้ากว่าปกติ (เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกรณีนี้แพทย์อาจพิจารณาเตรียมผิวก่อนมาผ่าตัด)
การดูแลตัวเอง รวมไปถึงการเฝ้าระวังเรื่องความดันและหัวใจหลังผ่าตัด ต้องทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ (More Multimodal & Aggressive Blood Pressure Control) เนื่องด้วยเหตุผลดังที่หมอแจ้งแล้วข้างต้น ว่าผู้ชายเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ได้ง่ายและมากกว่าผู้หญิง ภาวะหลอดเลือดใต้ผิวหนังปริมาณมากกว่าและขยายตัวง่ายกว่าผู้หญิง (Skin Vascularity) จึงมีความเสี่ยงเรื่องเลือดออกง่าย (Postoperative risk of Hematoma) แพทย์จึงให้ความสำคัญในการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมและลดความเสี่ยงที่ตามมาได้ และเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
จะเห็นได้ว่าการผ่าตัดดึงหน้า ดึงคอในผู้ชายจะมีรายละเอียดบางประการเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด, ขั้นตอนเทคนิคการผ่าตัด และการดูแลหลังผ่าตัดที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษต่างจากผู้หญิง ดังนี้ทั้งคนไข้และแพทย์ต้องตระหนักถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อย่างดี เพื่อผลของการผ่าตัดดึงหน้าที่น่าพอใจ (Good Result) และป้องกันหรือลดภาวะแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัด และหลังการผ่าตัดดึงหน้า (Intraoperative & Postoperative Complication) เพื่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย
รับชมสาระดี ๆ เพิ่มเติมได้ที่ Doctor Gorn Aesthetique
มีคำถามเกี่ยวกับ "การผ่าตัดดึงหน้า" อยู่ใช่ไหม?
สำหรับใครที่สนใจเสริมจมูก หรือแก้จมูก ด้วยกระดูกอ่อนซี่โครง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและประเมินราคาการเสริมจมูกเบื้องต้นด้วยตนเองได้ ที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับที่ปรึกษาด้านความงามของดร.กร เอสเทติค คลินิก ได้ที่ไลน์ @dr.gornaesthetique มีแพทย์ช่วยประเมินออนไลน์ได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย!
พร้อมให้บริการแล้วทั้ง 4 สาขา ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร น่าน พิษณุโลก หรืออุตรดิตถ์ ดูแลโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าโดยตรงที่มีประสบการณ์มากกว่า 24 ปี
บทความโดย Dr.Gorn’s Facial Plastic Teams