คนไข้หลายคนเลยนะครับที่ยังมีคำถามมากมาย เรื่องการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงในการทำศัลยกรรมจมูก จนไม่รู้ว่าเคสแบบเรานั้นควรเลือกใช้แบบไหนระหว่าง กระดูกอ่อนซี่โครงของตัวเอง หรือ กระดูกอ่อนซี่โครงบริจาค วันนี้หมอเลยมาไขข้อข้องใจตอบชัดให้ทุกประเด็นแบบเข้าใจง่ายๆ สำหรับไว้ให้ทุกคนใส่เป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจ เมื่อต้องทำศัลยกรรมกันนะครับ
การเสริมจมูกใหม่และแก้จมูก โดยใช้กระดูกอ่อนซี่โครงของตัวเอง
(Autologous Costal Cartilage | Rib Cartilage Rhinoplasty)
การนำกระดูกซี่โครงของคนไข้มาใช้ในการผ่าตัด โดยปกติแพทย์จะเลือกใช้กระดูกอ่อนซี่โครง (Rib) ซี่ที่ 6,7 หรือ 8 บริเวณข้างขวาของคนไข้ ซึ่งจะผ่าตัดนำออกมาในปริมาณตามดุลยพินิจของแพทย์ และก่อนตัดสินใจใช้กระดูกอ่อนซี่โครงนั้น คนไข้จำเป็นต้องตรวจ CT-Scan Chest (ทรวงอก) เพื่อให้แพทย์เจ้าของไข้ประเมิน ดังนี้
- เพื่อวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และความยาว ส่วนที่เป็นกระดูกอ่อน (Costal Cartilage) ของซี่โครง (Rib) แต่ละซี่
- ตรวจดูคุณภาพของกระดูกอ่อนซี่โครง (Rib Cartilage) ว่าดีพอที่จะนำมาใช้งานได้หรือไม่ มีหินปูนเกาะแทรกมากน้อยเพียงใด (Degree of Calcification)
- ตรวจดูว่ากระดูกอ่อนซี่โครงที่ได้คุณภาพนั้น มีปริมาณพอสำหรับการนำมาตกแต่งและเสริมโครงสร้างจมูก ตามปัญหาที่ต้องการแก้ไขของคนไข้หรือไม่
- ตรวจดูความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพในทรวงอก รวมถึงปอดว่าพร้อมเพียงใด เป็นอุปสรรคต่อการผ่าตัดและการดมยาสลบหรือไม่
หลังจากตรวจตามผลของ CT-Scan Chest (ทรวงอก) แล้ว แพทย์จะทำการสรุปการประเมินว่าคนไข้สามารถใช้กระดูกอ่อนซี่โครงของตัวเองในการผ่าตัดเพื่อแก้ไขจมูกได้หรือไม่ครับ ซึ่งจำเป็นอย่างมากในการแก้ไขโครงสร้างจมูกไม่ว่าจะเป็นการเสริมใหม่ หรือแก้จมูกก็ตามครับ สรุปคือแพทย์จำเป็นต้องดูว่าคุณภาพกระดูกอ่อนซี่โครงของตัวคนไข้เองนั้น ใช้ได้ไหม และหากนำมาใช้จะสามารถแก้ไขปัญหาตามที่คนไข้ต้องการได้หรือไม่ครับ
นอกจากตรวจ CT-Scan Chest (ทรวงอก) แล้วสิ่งที่จำเป็นต้องตรวจด้วย คือ แพทย์ผ่าตัดจะให้ตรวจประเมินร่างกาย (Physical Examination) ตรวจเลือด (Blood Test) ตรวจเอ็กซ์เรย์ปอด (Chest X-ray) ดูความสามารถในการแข็งตัวของเลือด (Coagulogram) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) และอาจมีตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมตามปัญหาสุขภาพและอายุของคนไข้แต่ละบุคคล ทั้งนี้เพื่อให้วิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologist) ประเมินความพร้อมทางด้านร่างกายของคนไข้ ว่ามีความพร้อมและมีความปลอดภัยที่จะผ่าตัดแบบดมยาสลบได้หรือไม่ครับ
ขั้นตอนการผ่าตัด เพื่อเก็บกระดูกอ่อนซี่โครง (Rib Cartilage Harvesting) มีดังนี้
แพทย์จะเปิดแผลผ่าตัดบริเวณซี่โครงซี่ที่ต้องการ เป็นแผลขนาดเล็กประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร แต่ในกรณีคนไข้เคสที่มีผิวและชั้นไขมันค่อนข้างหนา แพทย์อาจจำเป็นต้องเปิดแผลผ่าตัดยาวขึ้น เพื่อเพิ่มการมองเห็น field ผ่าตัดได้มากขึ้นนั้นเองครับ โดยการผ่าตัดเพื่อเก็บกระดูกอ่อนซี่โครงแบบนี้ ต้องทำการผ่าตัดแบบดมยาสลบ (General Anesthesia) จะดีที่สุดครับ ถ้าเป็นผู้หญิงแพทย์ก็จะเปิดแผลใต้ราวนม ในกรณีนี้ใครที่เสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนมาก่อนจำเป็นต้องแจ้งแพทย์ทุกครั้งนะครับ เพราะแพทย์จะได้วางแผนผ่าตัด เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนซิลิโคนเต้านมที่คนไข้เสริมมานั้นเองครับ
การดูแลแผลหลังการผ่าตัด เมื่อใช้กระดูกอ่อนซี่โครงตัวเอง
(Postoperative Cares)
การดูแลแผลหลังการผ่าตัด เมื่อใช้กระดูกอ่อนซี่โครงตัวเอง (Postoperative Cares) เป็นสิ่งที่คนไข้หลายคนกังวลเยอะนะครับ ว่าจะดูแลยังไง ? ดูแลยากไหม ? ลำบากมากไหม ? วันนี้หมอมีคำตอบให้ครับ แต่ก่อนอื่นแจ้งให้ทุกคนเข้าใจก่อนนะครับว่าการที่เราผ่าตัดเพื่อใช้ซี่โครงตัวเองนั้น หลังผ่าตัดเราสามารถขยับตัว เดิน และใช้ชีวิตได้ตามปกตินะครับ เพื่อแต่ไม่ยกของหนัก ไม่กระแทกหรือใช้แรงเยอะ ๆ ในช่วงหลังผ่าตัด 30 วันครับ
การดูแลแผลหลังการผ่าตัด เมื่อใช้กระดูกอ่อนซี่โครงตัวเอง (Postoperative Cares) มีดังนี้
- วันที่ 1-2 วันแรก หลังผ่าตัดจะทำความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัดที่จมูกเท่านั้น เราจะไม่ยุ่งกับแผลบริเวณซี่โครงที่ปิดแผลไว้
- วันที่ 3 หลังผ่าตัด เปิดแผลบริเวณซี่โครง
- หลังเปิดแผล ให้ทำความสะอาดแผล ด้วย Normal Saline และทาเจลช่วยป้องกันแผลเป็น ปล่อยให้แห้งแล้วเคลือบด้วย ขี้ผึ้งยาฆ่าเชื้อ เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะแห้งสนิท ทำต่อเนื่องจนถึงกำหนดวันมาตัดไหม
- กำหนดวันตัดไหม 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการหายของบาดแผล ในคนไข้แต่ละบุคคล
- งดออกกำลังกายหนัก 30 วันหลังผ่าตัด
- หลังตัดไหม สามารถทาเจลเพื่อป้องกันแผลเป็นบาง ๆ เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหายสนิท
- หลังผ่าตัดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก อาจมีการปวดบริเวณแผลผ่าตัด หลังจากนั้นอาการปวดจะลดลงตามลำดับ
หมายเหตุ : ในบางเคสหลังการเสริมโครงสร้างจมูก (Structural Rhinoplasty) แล้วมีกระดูกอ่อนบางชิ้นที่ไม่ได้ใช้ หรือเหลือบางส่วน แพทย์จะเก็บไว้ในบริเวณลึก ๆ ของแผลผ่าตัด หรือในบางเคสอาจเก็บใต้หนังศีรษะบริเวณท้ายทอยด้านข้าง เมื่อจำเป็นต้องใช้ภายหลัง จึงไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อเก็บซี่โครงใหม่
ข้อดี - ข้อเสีย ของการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงตัวเอง
ในการเสริมจมูก หรือแก้จมูก
ข้อดี
ข้อเสีย
-
มีปริมาณมากพอ (Adequate Amount) และมีความแข็งแรงพอ (Strong Support) สำหรับคนไข้ที่ต้องการกระดูกอ่อนในการทำศัลยกรรมจมูก แบบแก้ไขโครงสร้างจมูกใหม่ (Structural Rhinoplasty) ไม่ว่าจะในเคสเสริมใหม่ หรือเคสแก้จมูก โดยเฉพาะในเคสผ่าตัดที่มีโครงสร้างจมูกดังต่อไปนี้
-
-
เคสที่มีโครงสร้างจมูกเดิมสั้นและเชิด จำเป็นต้องยืดปลายจมูกด้วยกระดูกอ่อนที่มีความแข็งแรงพอ (Short & Upturn Nose) การเลือกใช้กระดูกอ่อนซี่โครงจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
-
เคสที่มีผนังกั้นกลางจมูกคด (Deviated Nasal Septum) และโครงสร้างจมูกส่วนกลางมีปัญหา (Mid Vault Collapse) เพื่อการแก้ไขที่ดีที่สุด แพทย์ต้องใช้กระดูกอ่อนที่มีความแข็งแรงพอ และปริมาณมากพอในการแก้ไขโครงสร้างจมูกใหม่
-
เคสที่มีเนื้อเยื่อหุ้มจมูกค่อนข้างหนา ผิวมัน และยืดได้ค่อนข้างยาก (Thick, Oily skin soft tissue envelope) หรือเคสที่มีพังผืดจากการผ่าตัดครั้งก่อน ๆ ค่อนข้างมาก (Contracted Nose)
-
เคสที่มีปัญหาโครงสร้างจมูกค่อนข้างมาก (Difficult Cases)
-
งานแก้ (Revision Rhinoplasty) โดยเฉพาะเคสที่มีปัญหาจากการเสริมด้วย Silicone มาแล้ว เคสที่เคยใช้กระดูกอ่อนผนังกั้นกลางจมูก (Septum) และกระดูกอ่อนใบหู (Ear Cartilage) มาแล้ว
-
-
มีความสามารถในการต่อต้านการติดเชื้อได้ดี (Good Resistance for Infection)
-
สามารถใช้เยื่อหุ้มกระดูกอ่อนซี่โครงตัวเอง มาหุ้มบริเวณที่ผิวของจมูกบางมากๆ ได้ เช่น ในเคสที่ปลายจมูกบาง เป็นต้น
- ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดนานขึ้น (Prolong Operative Time)
- มีแผลเป็นบริเวณใต้ราวนมฝั่งขวา (Chest wall scar) แต่แผลผ่าตัดจะค่อย ๆ ลดลงตามเวลาและปัจจัยของแต่ละบุคคล
- เนื่องจากกระดูกอ่อนซี่โครง เป็นกระดูกอ่อนประเภท Hyaline Cartilage (กระดูกอ่อนขาว) เมื่อกระดูกมีอายุมากขึ้น ก็จะมีการสะสมตัวของแคลเซียมในกระดูกเพิ่มขึ้น (Calcium Deposit/ Calcification) โดยเฉพาะผู้หญิง เมื่อเรานำมาศัลยกรรมจมูก จึงอาจทำให้เมื่อคลำบริเวณที่ใช้กระดูอ่อนซี่โครงจะมีความแข็ง (Rigidity) มากกว่าการใช้กระดูกอ่อนใบหู (Ear Cartilage) ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนชนิด Elastic Cartilage (กระดูกอ่อนยืดหยุ่น)
- การผ่าตัดจึงต้องได้มาตรฐานระดับสากล และต้องทำผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีประสบการณ์เพราะเป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อน ในการผ่าตัดเอากระดูกอ่อนซี่โครงออกมา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น
- ภาวะปวดแผลผ่าตัด (Postoperative Pain)
- ภาวะเลือดออกหลังผ่าตัด (Postoperative Bleeding)
- การแตกหักของกระดูกอ่อน (Grafting Fracture) ในคนไข้ที่มีปริมาณแคลเซียมมาเกาะที่กระดูกปริมาณมาก (High Degree Calcification)
- ภาวะเนื้อเยื่อหุ้มปอดฉีกขาด (Pneumothorax)
การเสริมจมูกใหม่และแก้จมูก โดยใช้กระดูกอ่อนซี่โครงบริจาค
(Donate Rib/ Cadaveric Costal Cartilage / Allograft Cartilage)
เป็นทางเลือกหนึ่งในการนำมาใช้ในศัลยกรรมตกแต่ง หรือศัลยกรรมจมูก (Rhinoplasty) โดยเฉพาะในกรณีที่คนไข้ไม่สามารถใช้กระดูกอ่อนซี่โครงของตัวเองได้ (Autologous Costal Cartilage) ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้กระดูกอ่อนปริมาณมากและแข็งแรงเพียงพอในการตกแต่งและเสริมโครงสร้างจมูกใหม่ (Structural & Reconstruction Rhinoplasty)
บริษัทผู้ผลิตแต่ละแห่งจะมีขบวนการ (Processing) ในการกำจัดเชื้อโรค และสิ่งที่ปนเปื้อนที่เราไม่ต้องการออก โดยมีกระบวมการที่แตกต่างกันไป ดังนี้
- Hydroxide oxidation
- Demineralization
- Lyophilization
- Gamma Ray Irradiation (Irradiated Homologous Costal Cartilage; IHCC)
- Freeze – Dried Process
ท้ายสุดก็จะได้กระดูกอ่อนซี่โครงที่ไม่มีชีวิตแล้ว (Nonvital Chondrocyte) ปะปนกับ Collagen และเนื้อเยื่อชนิด Proteoglycan บางส่วน
ข้อบ่งชี้ในการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงบริจาค (Donate Rib)
การใช้กระดูกอ่อนซี่โครงบริจาค เป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีข้อจำกัดในการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงตัวเอง เช่น
- ดมยาสลบไม่ได้ หรือไม่ต้องการผ่าตัดแบบดมยาสลบ
- อายุมาก
- มีโรคประจำตัวหลายอย่าง
- คุณภาพของกระดูกอ่อนซี่โครงตัวเองไม่ดีพอจะนำมาใช้ เช่น มีปริมาณการเกาะของหินปูนแคลเซียมมาก (High Degree Calcification) หรือมีการสะสมของหินปูนแคลเซียมที่สมบูรณ์ไปแล้ว (Complete Calcification)
ข้อดี - ข้อเสีย ของการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงบริจาค
ในการเสริมจมูก หรือแก้จมูก
ข้อดี
ข้อเสีย
- ระยะเวลาในการผ่าตัด จะใช้เวลาสั้นกว่าหารผ่าตัดแบบใช้กระดูกอ่อนซี่โครงตัวเอง
- สามารถผ่าตัดโดยไม่ต้องดมยาสลบได้ คือ ใช้การผ่าตัดแบบใช้ยาชาเฉพาะที่ (Local Anesthesia) ยกเว้นในกรณีเคสยากที่แก้จมูกมาหลายครั้ง
- ไม่ต้องมีแผลผ่าตัดใต้ราวนม (Donor Site Morbidity)
- ความสามารถในการต่อต้านภาวะติดเชื้อน้อยกว่ากระดูกอ่อนซี่โครงตัวเอง
- เนื่องจากมีการผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ และกระบวนการกำจัดสิ่งปนเปื้อน (Sterilization & Processing) มาก่อน จึงอาจจะมีความเปราะมากกว่า (Brittle)
- ไม่สามารถใช้เยื่อหุ้มกระดูกอ่อนบริจาคมาหุ้มปลายจมูก กรณีปลายจมูกบางได้
งานวิจัยเรื่องผลกระทบหลังการใช้กระดูกอ่อนซี่โครง
ในวงการทางการแพทย์ มีงานวิจัยมากมายเรื่องการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงตัวเองในการศัลยกรรมจมูก และมีการศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบที่จะตามมาของชิ้นกระดูกอ่อนซี่โครง ที่เรานำมาใช้อยู่หลายงานวิจัยเลยครับ หมอเลยขออนุญาตรวบรวมมาให้ทำความเข้าใจกันแบบง่ายๆ ดังนี้
- มีสถิติตาม Meta-analysis[1] ของสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำของเกาหลี 10 งานวิจัย ที่รายงานระหว่างปี ค.ศ. 1946-2013 จำนวนเคสผ่าตัดทั้งหมด 491 ราย โดยติดตามอาการคนไข้หลังผ่าตัดด้วยกระดูกอ่อนซี่โครงตัวเองนาน 1 ปีครึ่ง – 8 ปี พบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนแต่ละอย่างโดยเฉลี่ย ดังนี้
-
- การคดงอของกระดูกอ่อน (Warping) เกิดขึ้นอยู่ที่ 1 – 5%
- การย่อยสลาย (Resorption) และการขรุขระของผิวกระดูก (Contour Irregularity) เกิดขึ้นอยู่ที่ 1 – 2%
- การติดเชื้อ (Infection) เกิดขึ้นอยู่ที่ 2 – 5%
- เคลื่อนไปผิดที่ (Displacement) เกิดขึ้นอยู่ที่ 1%
- ต้องมีการผ่าตัดแก้ไขซ้ำ (Revision Surgery) เกิดขึ้นอยู่ที่ 2 – 12%
- มีสถิติตาม Meta-analysis[2] ของสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำของ 11 ประเทศทั่วโลก ที่รายงานระหว่างปี ค.ศ.1990 – 2017 จำนวนเคสผ่าตัดด้วยกระดูกอ่อนซี่โครงทั้งหมด 1041 ราย แยกเป็นใช้กระดูกอ่อนซี่โครงตัวเอง 741 และใช้กระดูกอ่อนซี่โครงบริจาค 293 ราย ในกรณีที่ใช้กระดูกอ่อนซี่โครงบริจาคแบบเป็นชิ้น (Enblock) บริเวณสันจมูก (Dorsal Onley Graft)
-
- กระดูกอ่อนซี่โครงบริจาคแบบ IHCC ทั้งหมด 153 เคส มีระยะเวลาติดตามอาการนานเฉลี่ย 31.2 เดือน (5.4-57 เดือน)
- กระดูกอ่อนซี่โครงบริจาคแบบ Tutoplast ทั้งหมด 140 เคส มีระยะเวลาติดตามอาการนานเฉลี่ย 18.7 เดือน (0.0-79.1 เดือน)
- กระดูกอ่อนซี่โครงของตนเอง (Autologous Costal Cantillate) ทั้งหมด 741 เคส มีระยะเวลาติดตามอาการนานเฉลี่ย 23.2 เดือน (13.8-32.7 เดือน)
พบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนแต่ละอย่างโดยเฉลี่ย ดังนี้
-
- การย่อยสลาย (Resorption) 2% (0-2%)
- ภาวะการติดเชื้อ (Infection) 2% (0-4%)
- ภาวะการคดงอ (Warping) 5% (3-9%)
- ผิวไม่เรียบ (Contour Irregularity) 1% (0-3%)
- ต้องมีการผ่าตัดแก้ไขซ้ำ (Revision Surgery) 5% (2-9%)
หมายเหตุ : พบว่าอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงบริจาคทั้ง 2 แบบและการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงตัวเอง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยยะสำคัญ
[1] *อ้างอิงจากบทความชื่อ Autologous Rib Cartilage Rhinoplasty Complications, JAMA Facial Plastic Surgery, January/February 2015 Volume 17,Number 1
[2] *อ้างอิงจากบทความวิชาการชื่อ Comparison of Autologous vs Homologous Costal Cartilage Grafts in Dorsal Augmentation Rhinoplasty: A Systematic Review and Meta-analysis จากวารสาร JAMA Otolaryngol Head Neck Surg. 2020 Apr 1;146(4):347-354
มีคำถามเกี่ยวกับการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงอยู่ใช่ไหม?
สำหรับใครที่สนใจเสริมจมูก หรือแก้จมูก ด้วยกระดูกอ่อนซี่โครง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและประเมินราคาการเสริมจมูกเบื้องต้นด้วยตนเองได้ ที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับที่ปรึกษาด้านความงามของดร.กร เอสเทติค คลินิก ได้ที่ไลน์ @dr.gornaesthetique มีแพทย์ช่วยประเมินออนไลน์ได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย!
พร้อมให้บริการแล้วทั้ง 4 สาขา ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร น่าน พิษณุโลก หรืออุตรดิตถ์ ดูแลโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าโดยตรงที่มีประสบการณ์มากกว่า 24 ปี